สนามเด็กเล่นสนุกสนาน

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยทม (จังหวัดอำนาจเจริญ)

ผู้จัดทำ นางสาวอภิชญา นิลเกษ

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



            กิจกรรม : สนามเด็กเล่นสนุกสนาน วิธีการ : ครูจัดทำสนามเด็กเล่นจากล้อรถยนต์ ซึ่งล้อรถยนต์ทางคณะครูได้ขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองให้นำมาบริจาคเพื่อเป็นส่งเสริมการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง (Brain-Based Learning) หรือ BBL ซึ่งเป็นทฤษฎีเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของสมองได้ด้วยการกระตุ้นที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ก็กลับมาวางแผนทำที่โรงเรียน ซึ่งเห็นว่าในชุมชนมียางรถยนต์กองทิ้งไว้จึงได้เก็บและรวบรวมขอบริจาคเพิ่มเติมจากที่ต่างๆ แล้วนำมาดัดแปลง ทาสี ทำเป็นฐานสนามเด็กเล่นให้เด็กนักเรียนได้ใช้เดินทรงตัว วิ่ง กระโดด ในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน และหลังเลิกเรียน เนื่องจากของเล่นในสนามที่มีสีสันนี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองของเด็ก ช่วยกระตุ้นสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น การทำงานของหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมนต่างๆ รวมทั้งสติปัญญา ความคิด การเรียนรู้ ความฉลาด พฤติกรรม และบุคลิกภาพของคน รวมทั้งช่วยเสริมสร้างสมาธิให้แก่เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อผู้ปกครองหลายรายเห็นว่าทางโรงเรียนนำยางรถยนต์เก่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุตรหลาน ก็นำอุปกรณ์ทั้งยางรถยนต์ และสีมาบริจาคให้ ซึ่งทางโรงเรียนได้เตรียมขยายทำฐานเรียนรู้เพิ่มอุปกรณ์ห้อยโหน และสะพานเชือกเพิ่มต่อไป ต้องการทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่น่าอยู่ เพื่อให้เด็กๆ อยากมาเรียน และหวังเห็นเด็กๆ ได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพดี พร้อมปลุกจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการทำตัวอย่างการนำวัสดุที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ด้วย ประโยชน์ที่ได้รับ 1.เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสนามเด็กเล่น และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2.เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน 3.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้กับผู้เรียน 4.เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รูปแบบการสอน : เรียนปนเล่น เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล มุ่งเอาข้อเด่นของเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย เหมาะกับการจัดประสบการณ์ที่ไม่เพ่งเร่งปริมาณด้านเนื้อหา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเล่นอย่างสนุกสนาน สอดคล้องกับแนวคิดของมอนเตสซอรี่การเล่นปนเรียน (Play Way Method) มอนเตสซอรี่มีความเชื่อว่า การเล่นมีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กเพราะธรรมชาติของเด็กจะผูกพันกับการเล่น จึงให้เสรีภาพในการเล่นกับเด็กและจัดโอกาสให้เด็กได้เล่น หากเด็กสนใจเล่น จะเล่นซ้ำๆ กันได้หลายครั้ง เพราะการเล่นจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ตุลาคม 2558 -10 พฤศจิกายน 2558 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ @ครู/ผู้ดูแลเด็ก มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน @ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อม พื้นที่สีเขียว สนามเด็กเล่นและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา @ผู้ปกครองผู้เรียน มีส่วนร่วมพัฒนากิจกรรม/โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก @ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเล็ก มีน้ำหนักส่วนสูง สุขภาพอนามัย และพัฒนาการทางร่างกายสมวัย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5137 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5137