พืชผักสวนครัวหนูน้อย

สร้างโดย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านหนองแฝก (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางวันนา สิงห์แก้ว

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



            กิจกรรม: พืชผักสวนครัวหนูน้อย. ขั้นตอนในการจัดกิจกรรม. ( 1.) ครูให้ความรู้เกี่ยวกับพืชผักที่มีในท้องถิ่นและชุมชนกับเด็กรวมทั้งการเสนอชื่อของผักที่ตัวเองชอบ. (2.) กำหนดชื่อกิจกรรมพร้อมทั้งขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจากผู้ปกครอง (3.) จัดเตรียมสถานที่ปลูก (4. ) ผู้ปกครองและเด็กนำเมล็ดพันธ์พืชมาจากที่บ้านคนละ1อย่าง พร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ปลูก.( 5.) ครูแนะนำชื่อของเมล็ดพืชที่เด็กและผู้ปกครองได้นำมาจากที่บ้าน (6.) ครูและผู้ปกครองสาธิตขั้นตอนการนำเมล็ดพืชลงดินและการรดนำ้ (7.) ผู้ปกครองและเด็กรวมกันปลูกพืชผักที่ได้นำมา. (8.) ครูให้เด็กแต่ละคนดูแลรดนำ้ในเขตของตนพร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากเมล็ดพืชผักที่ตนปลูก. ประโยชน์ 1. เด็กได้รู้จักพืชผักชนิดต่างๆและได้มีแหล่งเรียนรู้ในศูนย์ 2. เด็กได้เรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว 3. รู้จักดูแลรักษาผักที่ตัวเองปลูกในการจัดการเรียนรู้จะเน้นที่การปฎิบัติจริง ความร่วมมือ การคิดแก้ไขปัญหา ร่วมทั้งการฝึกทักษะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome S.Bruner) บรูเนอร์ (Bruner ,1956 เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์(organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็กซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการกระบวนการคิดซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ4ข้อ คื แรงจูงใจ(Motivation)โครงสร้าง (Structure) ลำดับขั้นตอนต่อเนื่อง(Sequece)และการเสริมแรง(Reinforcemet) บทบาทครู 1.มีการวางแผนการเรียนการสอน 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือปฎิบัติกิจกรรม 3. มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเด็กและท้องถิ่น 4. มีการประเมินผู้เรียนโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ การปฎิบัติกิจกรรมสอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา(ขั้นพื้นฐาน)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ศพด.มีการจัดสภาพแวดล้อม พื้นที่สีเขียว และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา,ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดและพัฒนาการศึกษาสอดคล้องกับมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ คือ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง4 ด้านเด็กได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5135 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5135