การปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้เป็นแบบ BBL

สร้างโดย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบุญธิศาราม (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวหงส์ทอง พิมพ์สงค์

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            1. กิจกรรมการปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้เป็นแบบ BBL 2. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ครูและผู้ปกครองประชุมร่วมกันเกี่ยวกับการปรับปรุงสนามเด็กเล่นใหเป็นแบบ BBL จากนั้นจัดเตรียมหาอุปกรณ์ในการทำสนามเด็กเล่น เช่น ล้อรถยนต์ ล้อรถจักยานยนต์ เชือก สีน้ำมัน เพื่อใช้ในการทำสนามเด็กเล่น เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วครูและผู้ปกครองร่วมกันปรับปรุงสนามเด็กเล่นจนเสร็จสมบูรณ์ สวยงาม และปลอดภัย 3. ประโยชน์ของกิจกรรม 1. ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง 2.เพื่อฝึกให้เด็กมีพัฒนาการทางกลไกลการเคลื่อนไหวและการทรงตัว 3. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทางสมองควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหว 4. เพื่อให้เด็กมีสนามเด็กเล่นที่แปลกใหม่และปลอดภัย 4. รูปแบบการสอนแบบเล่นปนเรียน เพราะการเล่นของเด็กเป็นการแสดงออกถึงความสามารถในการใช้ร่างกาย ความคิด ภาษา ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมตามสัญชาติญาณให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินการลองผิดลองถูกและเป็นการคิดค้นสัมผัสด้วยตนเอง นิรมล ชยุตสาหกิจ. 2524 : 1-2 กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นและการเรียนที่เด่นชัดคือ การเล่นเป็นการนำไปสู่การค้นพบการเรียนรู้และการเล่นทำให้เด็กเป็นอิสระและเกิดความสนุดสนาน 5. สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ คือ มีนวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสื่อการสอนที่แปลกใหม่เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และสนุกสนานกับการเรียนที่สำคัญมีมนุษย์ที่ดีต่อเพื่อน ครู ผู้ปกครองและผู้อื่น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5131 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5131