โครงงาน : สนุกสนานกับสไลม์เมเนี่ยน ผู้จัดทำ : นางสาวประชุมพร วรรณสาย จังหวัด : ศรีสะเกษ
สร้างโดย เทศบาล1(อนุบาลบ้านป่าไม้) (จังหวัดศรีสะเกษ)
ผู้จัดทำ นางสาวประชุมพร วรรณสาย
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
ประเภทตัวชี้วัด : มีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายจึงได้จัดทำโครงงาน " สนุกสนานกับสไลม์เมเนี่ยน " เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นมาตามความสนใจของเด็กๆเป็นโครงงานที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือและปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ดังนั้นจึงได้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมสนุกสนานกับสไลม์เมเนี่ยนเพื่อที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติจริง ขั้นตอนการทำกิจกรรม 1.ร่วมกันคัดเลือกหัวข้อการเรียนรู้ที่นักเรียนสนใจโดยการสอบถามนักเรียนทุกคนตามหลักประชาธิปไตย 2.ให้นักเรียนสามารถยกมือเลือกหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจที่จะเรียนรู้มากที่สุดโดย1คน ยกมือเลือกได้เพียง1ครั้งแล้วจึงทำการสรุปหัวข้อโครงงานที่เลือกร่วมกัน คือ การทำสไลม์เมเนี่ยน 3.ขั้นศึกษาหาข้อมูลคุณครูก็พาเด็กๆไปศึกษาหาข้อมูลที่ห้องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมยูทูป เกี่ยวกับเรื่อง การทำสไลม์เมเนียน 4.สนทนาวิเคราะห์หาข้อมูลร่วมกันเกี่ยวกับการสไลม์เมเนี่ยนมีขั้นตอนอย่างไรและนักเรียนควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง 5.ร่วมวางแผนการทำงานว่านักเรียนแต่ละคนเตรียมวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างและวางแผนขั้นตอนในการทำกิจกรรมการทดลอง 6.แนะนำวัสดุอุปกรณ์ และให้นักเรียนทดลองปฏิบัติกิจกรรมตามโครงงานที่วางแผนไว้ 7.ประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน เด็กได้ร่วมกิจกรรมการทำสไลม์เมเนี่ยนอย่างสนุกสนานและได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนๆในการเล่นซึ่ง กิจกรรมนี้เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการดูดซึมของสีผสมอาหาร ความยืดหยุ่น และยังเป็นการพัฒนาด้านร่างกาย การใช้กล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่ได้อย่างคล่องแคล่ว การใช้ทักษะทางด้านภาษาและการสื่อสาร รูปแบบการสอน แบบโครงงาน (Project Design) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถ ความ ถนัด และความสนใจของตนเอง มาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับโครงงานที่เลือกศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการทางาน ลงมือทางาน และปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทางานเป็นกลุ่ม ฝึกปฏิบัติจริง เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม มีครูเป็น ผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาตลอดเวลา เน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง บทบาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน 1. โครงงาน 2. ศึกษาข้อมูล 3. วิเคราะห์ข้อมูล 4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม 5. เขียนโครงงานวางแผนการทำงาน 6. ปฏิบัติตามโครงงาน 7. ประเมินผลโครงงาน ประโยชน์ของการทำกิจกรรม 1. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง 2. นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทางานเป็นกลุ่ม 3. นักเรียนสามารถวางแผนการทำงานเป็นระบบ 4. นักเรียนได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5. นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน 6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ใน กรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง 7.เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทดลอง 8.เพื่อฝึกทักษะการสังเกต สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ ทดลองและประเมินผลได้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5.ลงความเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมได้ สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ ด้านผู้เรียนมีทักษะด้านการคิด การใช้ภาษา การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย สามารถบอกความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆที่เกิดจากการเรียนรู้ มีจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5104 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5104