กิจกรรมเสริมประสบการณ์(การทำศิลปะจากก้านกล้วย)

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชานุมาน (จังหวัดอำนาจเจริญ)

ผู้จัดทำ น.ส.จิราภรณ์ หาลิพันธ์

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



            ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชานุมาน ได้มีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ "การทำศิลปะจากก้านกล้วย" ขั้นตอนการทำกิจกรรม(ศิลปะจากก้านกล้วย) 1.) ครูจัดให้เด็กนั่งเป็นวงกลมแล้วพาท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับก้านกล้วย 2.) ครูได้ถามความรู้เดิมของเด็กๆว่าก้านกล้วยมีประโยชน์อย่างไรใครรู้จักก้านกล้วยบ้าง? 3.) ครูแนะนำอุปกรณ์และวิธีการทำงานศิลปะ 4.) ครูได้สาธิตการบีดสีต่างๆลงบนจานสีแล้วให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติโดยตนเอง 5.) ครูได้แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มแล้วครูได้แจกพู่กัน จานสี ก้านกล้วยและกระดาษเปล่าให้กับเด็กๆ 6.) เมื่อเด็กได้รับกระดาษแล้วครูให้สัญญาณเด็กทุกคนจะเริ่มลงมือวาดภาพของตนเอง 7.) เมื่อเด็กแต่ละคนวาดภาพเสร็จแล้วให้นำภาพของตนไปวางเรียงกันเพื่อตากให้แห้ง 8.) จากนั้นเด็กได้นำอุปกรณ์ต่างๆไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย 9.) ให้เด็กมานั่งในวงกลมพร้อมกับแสดงผลงานของตนเอง ประโยชน์ของกิจกรรม 1.) ด้านร่างกายเด็กได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กในการทำศิลปะประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 2.) ด้านอารมณ์ เด็กๆมีความสุขจากการเล่นศิลปะจากก้านกล้วย 3.) ด้านสังคมเด็กๆได้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆรู้จักการปรับตัวและแก้ปัญหาได้ 4.) ด้านสติปัญญาเด็กได้ฝึกใชิจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานศิลปะ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วยสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งเป็นกิจกรรมการทำศิลปะจากก้านกล้วยรูปแบบ การจัดกิจกรรมนั้นได้นำเอาทฤษฎีของวอลดอร์ฟซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การฝึกอบรมครูให้มีความพร้อมในหลายๆด้าน ทั้งด้านความรู้และความมีศิลปะในตัวเอง การจัดกิจกรรมต้องจัดให้สอดคล้องกับฤดูกาล วัฒนธรรมประเพณีและ วิถีชีวิตท้องถิ่น การศึกษาวอลดอร์ฟ โรงเรียน คือ บ้าน ครูคือ แม่ นักเรียน คือ ลูก และสื่อการเรียนมาจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นตามแนวคิดของวอลดอร์ฟที่บอกว่า"ธรรมชาติบริสุทธิ์ คือ หัวใจของการสอนแบบ วอลดอร์ฟ" คือ การให้การศึกษาแก่เด็กแบบองค์รวมทั้ง Head Heart และ Hand ซึ่งการจัดแผนการเรียน การสอนเป็นการพัฒนาไปตามช่วงอายุสร้างสมดุลย์ระหว่างวิชาการศิลปะและการฝึกฝนด้านการปฎิบัติและตอบสนองต่อธรรมชาติในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชานุมานจึงได้นำทฤษฎีวอลดอร์ฟมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยครูมีหน้าที่ทำให้เด็กรักการเรียนรู้และครูจะใช้ศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ( ก้านกล้วย) ให้เด็กได้ทำศิลปะจากก้านกล้วยนอกจากเด็กจะมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อนๆในห้องแล้วยังเป็นการส่งเสริมการเรียนวิชาการและช่วยสร้างแรงกระตุ้นภายในตัวเด็กให้รักการเรียนรู้ไม่ใช่การแข่งขันนอกจากนั้นยังทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ในผลงานของตนเองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5090 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5090