"รอบรั่วสวยด้วยมือเรา"
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาขาม (จังหวัดอุบลราชธานี)
ผู้จัดทำ นางสาวนฤนารถ เจริญชาติ 195
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1.จัเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ 2.เตรียมสื่อการเรียนรู้ โดยเล่าผ่านนิทาน "เรื่องต้นไม้ของฉัน" 3.ครูสาธิตการทำกิจกรรม 4.สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม 5.เด็กนำเสนอผลงาน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้และนำความรู้และประสบการณ์สู่การลงมือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ ใหม่ และสามารถนำประสบการณ์ตรงไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ด้วย ประโยชน์ที่ได้รับ 1.เด็กมีส่วนร่วม ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใศูนย์ 2.ปลูกฝังให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพฒนาสิ่แวดล้อภายนศูนย์ 3.เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 4.ส่เสริมการเรียนรู้ของเด็ก ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 สัปดาห์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ บรูเนอร์มีความเชื่อว่า “ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม ” ขั้นที่1 Enactive representation (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น ขั้นที่2 Iconic representation ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก ขั้นที่3 Symbolic representation ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กวัยอนุบาลจะอยู่ในระดับ Iconic representation ซึ่งการเรียนรู้ต่างๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำ โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ แนวทางในการจัดการเรียนการสอน บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ 1 ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว 2 โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน 3 การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน 4 การเสริมแรงของผู้เรียน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5089 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5089