เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นเตา
สร้างโดย ศพด.เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ (จังหวัดอุบลราชธานี)
ผู้จัดทำ นางสาวพัชรี กุลคำ
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับ สถานศึกษาและมีส่วนร่วมสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษา
กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นเตา ขั้นตอน 1.ครูให้ความรู้เด็กเกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นเตา 2.ครูและเด็กช่วยกันยกตัวอย่างภูมิปัญาท้องถิ่นในชุมชนของเรา 3.กำหนดแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่อยู่ใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4.ขอความร่วมมือผู้ปกครองที่มีอาชีพปั้นเตาเป็นวิทยากร 5.ครูพาเด็กๆไปศึกษาเรียนรูวิธีการปั้นเตาใกล้ๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประโยชน์ 1.เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่หลากหลาย 2.เพื่อส่งเสริมให้สังคมชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และประสบการณ์ให้กับเด็ก 3.เพื่อส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.เพื่อส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้กับเด็กร่วมกับบุคคลชุมชน/สังคม รูปแบบการสอน การสอนแบบสาธิต วิธีการสอนแบบสาธิต หมายถึง วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง การศึกษานอกสถานที่ การเรียนรู้แบบการศึกษานอกสถานที่ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ ที่ผู้สอนพาผู้เรียนออกไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ตรงและสถานที่จริง โดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้ การจัดกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นเตา สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูร่า (Bandura Social Learning Theory) ที่เชื่อว่าเด็กเรียนรู้พฤติกรรมจากการใช้ตัวแบบ สัญลักษณ์และทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม (Learning through modeling) ซึ่งเกิดจากการรับรู้พฤติกรรม และสามารถแสดงพฤติกรรมหรือกระทำตามตัวแบบนั้น การสอนแบบสาธิต การเรียนรู้นอกสถานที่ จะช่วยให้เด็กได้เข้าใจมากขึ้น ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน มีความรู้สึกอบอุ่นและใกล้ชิด วิทยากร ชุมชนรอบข้าง ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้อีกด้วย สอดคล้องกับตัวชี้วัดความตามมาตรฐานการศึกษา(ขั้นพัฒนา) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดประสบการณ์ ผู้เรียนมีทักษะสามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีความกระตือรือร้นเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวและสนุกกับการเรียนรู้รักภาคภมิใจในท้องถิ่นของตน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาเด็ก
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5070 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5070