พืชสมุนไพร (ต้นไม้ของหนู)
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้วยปอ ห้วยปอเจริญ (จังหวัดอุบลราชธานี)
ผู้จัดทำ ว่าที่ ร.ต.หญิงปรีญาพัชร มิตถา
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
กิจกรรม พืชสมุนไพร (ต้นไม้ของหนู) การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ร่มรื่น สวยงามมีความสำคัญต่อจัดระสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก วิธีการจัดกิจกรรม 1. คณะครูปรึกษาถึงแผนงานและการจัดกิจกรรม 2. ครูสนทนาร่วมกับเด็กเกี่ยวกับพืชสมุนไพรและเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกพืชสมุนไพรที่ชอบจากรูปภาพ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ ขอความร่วมมือให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการปลูกและดูแลต้นไม้พืชสมุนไพรร่วมกับเด็ก 4. นำพืชสมุนไพรที่เด็กและผู้ปกครองปลูกมาจัดมุมแหล่งเรียนรู้สวนสมุนไพร 5. นำพืชสมุนไพรบางชนิดมาใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากสภาพจริง เห็นพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ จับสัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสชาติ ด้วยตนเอง ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ครู ผู้ปกครองและเด็กเกิดความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร 2. เด็กๆเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินมีจินตนาการและรู้จักรับผิดชอบดูแลพืชสมุนไพร 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีแหล่งเรียนรู้(พืชสมุนไพร) สำหรับเด็กและชุมชน 4. เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ในการสร้างสวนสมุนไพร 5. มีพืชสมุนไพรไว้ให้บริการภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับ การดำเนินชีวิต เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิด ลงมือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ สอดคล้องกับทฤษฏีโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) คือ เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย C : Construct of knowledge คือ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง I : Interaction คือ การมีปฏิสัมพันธ์ P : Process skills คือ ทักษะกระบวนการ P : Physical participation คือ มีการเคลื่อนไหวร่างกาย A : Application คือการนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามมาตรฐานการศึกษา(ขั้นพื้นฐาน)ทำให้ครูนักเรียน ผู้ปกครองมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เด็กมีการเรียนรู้การลงมือปฏิบัติจริงปลูกฝังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อม พื้นที่สีเขียวและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการศึกษา มีและใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในและนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเป็นแหล่งเรียนรู้และบริการชุมชน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5067 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5067