ปรับปรุงสนามเด็กเล่น BBL
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงใหญ่ (จังหวัดอุบลราชธานี)
ผู้จัดทำ นางสาวยุวลี. วงศ์เกย
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรม ปรับปรุงสนามเด็กเล่น( BBL ) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1.ประชุม ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์เพื่อชี้แจงแบะวางแผนการจัดทำกิจกรรม 2.ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ 3.ขอร้บบริจาคยางรถยนต์และสี 4.จัดเตรียมสถานที่/กำหนดขอบเขตของสนาม/ขุดร่องสำหรับวางยางรถยน์โดยวางยางรถยนต์ขนาดเล็กใหญ่สลับกันเพื่อให้เกิดระดับสูงตำ่แตกต่างกัน 5.ทาสียางรถยนต์/ตรวจสอบความเรียบร้อย 6.ประชุมครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรม. ประโยชน์ที่ได้รับ 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อจำนวนเด็ก 2.ศูนย์พัฒนาเด็กมีสนามเด็กเล่นที่สามารถพัฒนา และ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน 3.ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 4.เด็กปกติและเด็กพิเศษได้รับ การพัฒนา พัฒนาการครบทั้ง4ด้าน จากการเล่นเครื่องเล่นสนาม อาธิเช่น เด็กกล้าคิดกล้าตัดสินใจ / เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรง / เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีทักษะในการทรงตัวดีขึ้น/พัฒนาความสัมพันธ์ของระบบประสาทในการสั่งงานตลอดจนการรับรู้ความรู้สึกต่างๆของเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ / เด็กรู้จักการฝึกคิดและแก้ปัญหาจากการเล่นได้ / เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความสนุนสนานสามารถปรับอารมณ์ให้เหมาะสมได้/ เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความอดทนสามารถรอคอยได้ / เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง (Brain-Based Learning) หรือ BBL เกิดจากความสนใจของนักการศึกษา นักจิตวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง มองว่า การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และกิจกรรมนั้นตื่นเต้นและท้าทาย ทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง เป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีการทำงานของสมอง และธรรมชาติสมองของเด็กแต่ละคน โดยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เราสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของสมองได้ด้วยการกระตุ้นที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ ยีนส์ อาหาร การออกกำลังกาย ดนตรี ศิลปะ ความรัก ความรู้สึกท้าทาย และการได้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นต้น วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น(เฟรอเบล) 1. เหมาะสาหรับเด็กเล็ก ๆ อนุบาล ประถม 2. มุ่งที่จะนาเอาการไม่อยู่นิ่งของเด็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ความเจริญเติบโต 3. มักใช้กับบทเรียนที่ไม่เพ่งเล็งด้านปริมาณของเนื้อหา 4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเล่นอย่างสนุกสนาน 5. มีจุดมุ่งมายให้เด็กเล่นในสิ่งที่เป็นคุณค่าทางการศึกษา ภายใต้การควบคุมของครู 6. ครูต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเล่นของเด็กการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) หมายถึง แนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาการจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผล ประเมินผลโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาวิชาที่จัดต้องให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตจริงของผู้เรียนเพื่อให้ ความรู้นั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทากิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิดลง มือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ เช่น พาเด็กไปที่สนามนับจำนวนของยางรถยนตร์ แยกสี ให้เด็กรู้จักสังเกตุขนาดใหญ่-เล็กของยางรถยนตร์ ทำให้เด็กรู้จักการสังเกตุ จำแนก แยกแยะ และใช้คำถามกับเด็กว่าแต่ละสีนั้นเด็กนึกถึงอะไร เช่น สีเขียวนึกถึงใบไม้ ธรรมชาติ และสอดแทรกคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสีต่างๆ เป็นต้น
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5044 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5044