สื่อหลากหลาย จากของเหลือใช้

สร้างโดย ศดว.หนองขี้เหล็ก  (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวอำพร บัณฑโก

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน



            เนื่องจากชุมชนมีการทิ้งเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆจำนวนมาก จนเกิดเป็นขยะ และมีปัญหาด้านการจัดเก็บและความสะอาดสวยงาม จนทำให้เกิดมลภาวะต่างๆ มากมาย ดังนั้นทางศดว.หนองขี้เหล็กจึงได้จัดทำโครงการ สื่อหลากหลายจากของเหลือใช้ โดยขอรับบริจาค เศษวัสดุต่างๆที่เหลือใช้ในครัวเรือนจากผู้ปกครอง เพื่อนำมาผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกเรื่องความประหยัด และรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง พร้อมทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่เปี่ยมไปด้วย จินตนาการ และการเล่นที่แฝงความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด สามารถประดิษฐ์เศษวัสดุ เหลือใช้ ใกล้ตัวมาทำศิลปะได้ วัสดุที่ใช้ก็หาได้ง่าย ราคาถูก ส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าการประยุกต์เศษวัสดุใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโรคร้อน เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับครู และผู้ปกครอง 2. เพื่อให้เด็กได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัสดุเหลือใช้ 3. เพื่อลดปริมาณขยะและของเหลือใช้ในบ้าน โรงเรียน และชุมชน 4. เพื่อให้เด็กได้นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 5. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป้าหมาย เชิงปริมาณ ผลงาน/ผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ ของเด็กศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดหนองขี้เหล็ก เชิงคุณภาพ เด็กเล็งเห็นถึงคุณค่าของเศษวัสดุเหลือใช้ อีกทั้งได้นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดความคิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็ก ครู และผู้ปกครอง ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ขั้นวางแผน 1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการโดยปรึกษากับครูประจำชั้น 2. นำเสนอโครงการต่อผู้บริหาร 3. ประชุมร่วมกับผู้บริหารและครูประจำชั้นในการดำเนินโครงการ เพื่อจัดเตรียมสถานที่และวัสดุ/อุปกรณ์ 4. จัดกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 4.1 จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ที่ได้จากของเหลือใช้ในบ้าน โรงเรียน และชุมชน 4.2 การสร้างผลงานจากเศษวัสดุของเด็ก ครู และผู้ปกครอง 5. สรุปและประเมินผลโครงการ สถานที่ดำเนินการ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดหนองขี้เหล็ก วันและเวลาในการดำเนินโครงการ เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 งบประมาณ ค่ากระดาษสี 50 บาท ค่ากาว 60 บาท ค่าสีน้ำอคิวลิค 30 บาท อุปกรณ์ที่ใช้ (โดยไม่ต้องจัดซื้อ) ขวดน้ำ, กระดาษหนังสือพิมพ์, สีเทียน, สีน้ำ,ถาดไข่,กล่องกระดาษ,กระป๋องกาแฟ, ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับครู และผู้ปกครอง 2. เด็กได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัสดุเหลือใช้ 3. ลดปริมาณขยะและของเหลือใช้ในบ้าน โรงเรียน และชุมชน 4. เด็กได้นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องรูปแบบการดำเนินการแบบโปรเจคแอพโพส(Project Approach) โครงการประเภทสิ่งประดิษฐ์ เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมิน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5042 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5042