สวนหย่อมสมุนไพร

สร้างโดย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางชุติกาญจน์ สันตะพันธ์ 571111321224

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



            กิจกรรมส่วนหย่อมสมุนไพร ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประชุมครู ผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงและวางแผนการจัดกิจกรรม 2.จัดหาพืชพรรณสมุนไพร เพื่อดำเนินตามกิจกรรม 3.ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ - เตรียมพื้นที่สวนยอม - ปลูกพืชสมุนไพรไทยในสวนหย่อม 4.ประเมินผลสรุปรายงานผล ประโยชน์ที่ได้รับ 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดร่มรื่นสวยงามและเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กได้ 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น 3.เด็กรู้จักหวงแหนและรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 4.เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับผู้ปกครองชุมชน 5.เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรในท้องถิ่น รูปแบบการสอน วิธีการสอนแบบสาธิต ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่โดยมีการแสดงหรือการสาธิตการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เเด็กเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การลงมือปฏิบัติ โดยครูต้องเตรียมบทเรียนและ ซ้อมการสาธิตและเป็นอย่างดีในการสาธิตทุกครั้งต้องมีจุดประสงค์แน่นอนและพยายามทำให้บรรลุจุดประสงค์ เน้นเด็กมีส่วนร่วมและมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ดสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา(ขั้นพัฒนา)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือมีแหล่งเรียนรู้และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมพื้นที่สีเขียว และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5027 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5027