อนุบาลประสานชุมชนมุ่งสู่แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำโรง (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาว พิสมัย ยุพโคตร 571111321229(ห้อง4)

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            1.ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน วางแผนดำเนินงานจัดทำโครงการอนุบาลประสานชุมชนมุ่งสู่แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยดำเนินการจัดกิจกรรมตาม โครงการดังน้ี 1.1ศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีท่ีเกี่ยวข้องและนำรูปแบบเทคนิควิธีการต่างๆมาปรับใชกับโครงการ 1.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2546 และนำกิจกรรมสอดแทรกในหน่วยการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กและสภาพแวดล้อมชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดทำ3.เตรียมสถานที่การเรียนรู้/กับผู้ปกครองในชุมชนทั้งในและนอกสถานที่การเรียนรู้4.คณะครู ผู้ปกครอง ในชุมชนท้องถิ่นร่วมมือกันจัดสร้างบ่อปลา5.ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปการดำเนินโครงการที่มีคุณภาพของบ่ปลาและพร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก6.นำปลาดุกมาปล่อยเลี้ยงในบ่อ นำเด็กไปศึกษาแหล่งเรียนรู้บ่อเลี้ยงปลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ถึงการเลี้ยงปลา เพื่อนำมาเป็นอาหารกลางวันของเด็กและเลี้ยงไว้ขาย7.ประเมินพัฒนาการเด็กทั้งกายภาพและทักษะการสังเกตการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ปัจจัยที่ให้วิธีการประสบผลสำเร็จผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคณะครูผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียนให้ความร่วมมือสนับสนุน การจัดทำโครงการ/กิจกรรมในคร้ังน้ีจนประสบผลสำเร็จ ผลประโยชน์ที่ได้รับ จากโครงการ อนุบาลประสานชุมชนเข้าสู่แหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย ทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตนเองได้ มีเจตคติท่ีดีต่ออาชีพ ที่สุจริตต่างๆในชุมชนของตนเอง และช่วยกันอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองได้เด็กได้รับการปลูกฝังในด้านคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงามได้เรียนรู้ ถึงความพอเพียง พอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามวัยจากการปฏิบัติตาม โครงการน้ีส่งผลให้เด็กปฐมวัยอนุบาลบ้านสำโรงได้รับการพัฒนาครบทั้ง4ด้านคือด้าน ร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ คือแนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทฤษฎีแนวคิดน้ีมีที่มาจากแนวคิดทางการศึกษาของเรกจิโอเอมีเลีย(ReggioEmilia)ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจได้อย่าง เต็มตามศักยภาพจัดสภาพการเรียนรู้ท่ีสนองต่อความอยากรู้ และแรงจูงใจภายในของเด็ก จัดสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน โดยมีครอบครัว ชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมายเนื้อหาการจัดกิจกรรมตลอดการวัดประเมินผลโดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการแก้ไขและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในชุมชนท้องถิ่นให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเครียดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ต่อไปในอนาคตเพื่อช่วยกล่อมเกลาใหเ้ด็กอนุบาลมีพฤติกรรมที่ดีงาม เห็นแบบอย่างท่ีดี รู้จักอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาในท้องถิ่นและวัฒนธรรมท่ีดีงามมี เจตคติที่ดีต่ออาชีพต่างๆในชุมชน ท้องถิ่นของตนเองสามารถนาความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตนเองได้และดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข ได้รับประสบการณ์ตรง ในการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้พบเห็นสิ่งต่างๆมากมาย เป็นการพัฒนาการในด้านสมองของเด็กได้มีพัฒนาการที่สมวัย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5023 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5023