แผนการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสว่าง (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวส่งศรี ขันทอง

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



            เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งเป็นความหวังของครอบครัว เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นมนุษยชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ครู ผู้ปกครอง และชุมชนจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสว่าง จึงได้ร่วมกันวางแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของ เด็ก ครู ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เต็มศักยภาพ กิจกรรม การจัดทำแผนประสบการณ์ในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา 2. เพื่อบูรณาการการจัดประสบการณ์ต่างๆ โดยการยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง 3. เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพท้องถิ่นของตนเอง 3. ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ขั้นตอนการดำเนินงาน
 1. ครูสอบถามเด็กถึงเรื่องที่เด็กสนใจเพื่อที่จะได้จัดทำแผนประสบการณ์
 2. ครูจัดประชุมผุ้ปกครอง/กรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อของคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการ เขียนจัดประสบการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้กครองและชุมชน 3. ครูศึกษาทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย 4. จัดทำแบบแผนการจัดประสบการณ์ 2 แผนคือ ประสบการณ์โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและ สร้างแผนการจัดประสบการณ์เด็กที่มีความต้องการพิเศษในระบบเรียนร่วมขึ้นมา 5. เสนอแผนการจัดประสบการณ์ต่อหัวหน้ากองการศึกษา เพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่และ. ปรับแก้ตามคำแนะนำที่ได้รับ 6. ครูจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ตัวแทนผู้ปกครอง เพื่ออนุมัติการใช้แผนการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
 7. ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์และสร้างแบบประเมินพฤติกรรม. การเรียนรู้ของเด็ก 8. การจัดประสบการณ์ที่ได้ขยายผลให้ผู้ปกครองรับทราบ เช่น บอร์ด แผ่นพับรวมทั้งสร้าง แบบสอบถามข้อเสนอแนะเพื่อปรับใช้ในการจัดทำแผนการจึดประสบการณ์ในครั้งต่อไป ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เด็กได้รับการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา 2. เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม 3. เกิดความสามัคคีและเสริมสร้างเครือข่ายในชุมชน 4.ครูได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ใช้รูปแบบการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการสอนแบบบูรณาการ -การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเลือก. บทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มหรือศึกษาด้วยตนเอง -การสอนแบบบูรณาการ เน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการนำประสบการณ์ตรง มาใช้แก้ปัญหาในการเรียนรู้ มีการสร้างประสบการณ์ใหม่ การจัดกิจกรรม การจัดทำแผนประสบการณ์ในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย สอดคล้องกับทฤษฎีของ บรูเนอร์ (Bruner, 1969 : 85) เชื่อว่า ครูสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนได้ โดยต้องคำนึงถึงทฤษฎีพัฒนาการว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างความรู้และการสอน กล่าวคือพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาความรู้และวิธีการสอน หรือกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กเป็นหลัก ตัวบ่งชี้ที่สำเร็จ 1.มีความรู้ ความเข้าใจหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และหลักสูตรปฐมวัย 2.จัดกิจกรมมอย่างหลากหลายตามความสนใจของผู้เรียน 3. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนในการจีดและพัฒนาการศึกษา 4. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5011 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5011