โครงการสื่อหรรษา สื่อ อะไรเอ่ย หนูเคยเห็น
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนใหญ่ (จังหวัดอุบลราชธานี)
ผู้จัดทำ นางขวัญฤดี ลำพันธ์
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.ขั้นเตรียมการ ขั้นจัดทำสื่อ วัสดุอุปกรณ์ กรรไกร กระดาษสี กาว มีด แผ่นลองตัด รูปภาพที่จะใช้ทำสื่อ แลคซีน สติ๊กเกอร์เคลือบ กล่อง วิธีการทำสื่อ 1.นำการะดาษสีมาพับครึ่งแล้วตัดแยกออกจากกัน 2.นำกระดาษสีที่ตัดแยกออกจากกันมาพับให้ได้สามส่วน 3.นำรูปภาพสื่อที่เตรียมไว้มาทากาวแล้วนำมาติดตรงกลางกระดาษ 4.นำกระดาษเคลือบมาเคลือบทับรูปภาพที่ติดไว้เพื่อไม่ให้เด็กๆแกะ 5.นำคำถามมาติดด้านหน้ากระดาษแล้วใช้สติ๊กเกอร์เคลือบทับเพื่อป้องกันเด็กๆแกะ 6.นำแลกซีนติดขอบกระดาษทั้งหมด 2.ขั้นดำเนินการ/จัดทำสื่อและนำไปสอน ครูนำรูปภาพและตัวอักษร พยัญชนะทั้ง 44 ตัว ให้เด็กๆดู ให้นักเรียนดูและสังเกตภาพ จากนั้นครูอ่านปริศนาคำทายที่ติดอยู่ด้านหน้าให้นักเรียนฟังและให้นักเรียนตอบเมื่อเด็กๆตอบครูเปิดแผ่นภาพออกด้านหนึ่งแล้วให้นักเรียนสังเกตว่าคืออะไรจากนั้นครูอ่านปริศนาคำทายอีกครั้งและให้นักเรียนยิบตัวอักษรที่ตรงกับรูปภาพขึ้นมาและครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง คือภาพอะไรตรงกับตัวพยัญชนะอะไร โดยครูให้นักเรียนดูภาพและพาอ่านออกเสียง ซ้ำพร้อมกันกันอีกครั้ง ประโยชน์ที่ได้รับ 1.ครูมีความสามารถในด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก ปฐมวัยและเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียน 2.เด็กเกิดทักษะการเชื่อมโยงสัมพันธ์ 3.เด็กเกิดพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน รูปแบบการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญ ญาภายใต้การอำนวยความสะดวก สนับสนุน ชี้แนะ ช่วยเหลือของครูในด้านต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างไปจากเด็กในวัยอื่น การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นที่หลากหลาย ฟรอเบล (Froebel) ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการอนุบาลศึกษาเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น การจัดกิจกรรมให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นกิจกรรมเล่นปนเรียน หากสังเกตพฤติ กรรมการเรียนรู้ของเด็กทารก จะพบว่าเด็กในวัยนี้จะเล่นเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งในระยะแรกเราอาจจะไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เด็กทำนั้นเป็นการเล่น เพราะการเล่นของเด็กในระยะนี้เริ่มโดยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายซ้ำๆ รวมทั้งเสียงซ้ำๆอยู่ตลอดเพราะฉะนั้นใน เวลาการจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเป็นการจัดกิจกรรมที่ครูต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในด้านต่างๆ ทั้งการจัด เตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเล่นของเด็ก การสนับสนุนช่วยเหลือหรือชี้แนะให้การเล่นของเด็กเป็นไปตามจุดมุ่ง หมายที่วางไว้ เพื่อให้การเล่นในแต่ครั้งเกิดประโยชน์ต่อเด็กสูงสุด
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5008 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5008