หนูน้อยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเป้า (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวนพมาศ ดีแสน 571111321241

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน



             กิจกรรม หนูน้อยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1.ครูให้ความรู้ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมการฟ้อนรำเชิญขวัญที่สืบทอดกันมา 2.พาเด็กเข้าร่วมชมการแสดงพื้นบ้านฟ้อนรำของท้องถิ่น 3.เชิญปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้ด้านการฟ้อนรำมาให้ความรู้แก่เด็ก 4. เด็กและปฏิบัติจริงผ่านการฝึกซ้อมฟ้อนรำเชิญขวัญ 5.เด็กกล้าแสดงออกในที่ชุมชนตามความสามารถและความภูมิใจในวัฒนธรรมของตน ประโยชน์ของกิจกรรม 1.เด็กได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่หลากหลาย 2.เด็กได้รับความรู้และประสบการณ์เห็นคุณค่าสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 3.ศพด.ครอบครัว ชุมชน สังคมมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และประสบการณ์ให้กับเด็ก4.เด็กได้เรียนรู้ผ่านความร่วมมือของสังคมและองค์ความรู้ต่างๆในท้องถิ่นจนเกิดทักษะระบบการเรียนรู้ที่มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในชุมชน รูปแบบการสอน เรียนรู้จากสิ่งที่ผู้เรียนสนใจการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงได้สุนทรียภาพจากดนตรีพื้นบ้านเห็นคุณค่าและอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของตนเสริมทักษะด้านการดำเนินเนินชีวิตในชุมชนโดยใช้ โดยการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ การเรียนรู้จากสภาพจริง (AuthenticLearning) การจัดการเรียนรู้จะเน้นที่การปฏิบัติจริง การร่วมมือกัน การคิดอย่างมีจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นการ สร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง โดยใช้ทฤษฎี พหุปัญญา Garner (1993) เน้นเรื่องสมองแต่ละส่วนจะควบคุมความฉลาดแต่ละด้าน และมีหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันสิ่งสำคัญที่สุดทุกคนมีความฉลาดทุกด้าน เช่น ด้านดนตรี,ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย,ด้านภาษา,ด้านการเข้ากับผู้อื่น,ด้านการเข้าใจตัวเอง,ด้านการเข้าใจธรรมชาติท้องถิ่นของตนเอง,ด้านเนื้อหามิติสัมพันธ์ ความฉลาดแต่ละด้านไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาด แต่หากเอื้อประโยชน์ให้แก่สังคมของตนอย่างเต็มความสามารถ ฝึกให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างช้าๆไปกับเสียงดนตรี ไม่ควรส่ง เสริมการเต้นตามเพลงในมิวสิควิดิโอที่เราเห็นกันบ่อยๆในทีวี ไม่เหมาะกับสมองและร่างกายของเด็กเล็ก ความฉลาดสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญที่สุดคือ การปลูกฝังความประทับใจของการอยู่ร่วมกันในชุมชน ก็จะทำให้เห็นความแตกต่างของบุคคลในชุมชน ขยายไปถึงสังคมภายนอก เพื่อให้ฝึกการปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้อย่างสร้างสรรค์ เด็กที่มีความฉลาดด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น จะประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นฐานของการพัฒนาด้านอื่นๆที่สำคัญต่อไป บทบาทครู 1.การวางแผนการสอน 2.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 3.จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับชีวิตชุมชนสภาพแวดล้อม 4.ประเมินผู้เรียนโดยความด้วยความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมตามระยะเวลาที่เหมาะสม สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา(ขั้นพัฒนา)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ มีแหล่งเรียนรู้และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก,จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาไทยอย่างสร้างสรรค์,มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในและนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก,รู้จักท้องถิ่นของตน สอดคล้องกับมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ คือ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม,การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน,เด็กได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่พึงประสงค์

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5007 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5007