กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหน้าเสาธง

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนกเต็น (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวสุมาลี วงค์ตรี

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



            กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหน้าเสาธง เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.เตรียมดิน กระถางดอกไม้ เมล็ดพันธ์ โดยขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้เด็กนำพันธ์ไม้ดอกไม้ประดับมาจากบ้าน 2. ลงมือทำกิจกรรมโดยให้เด็กได้ลงมือปลูกไม้ดอกไม้ประดับด้วยตัวเอง 3.ช่วยกันรดน้ำ และจัดเวรยามรดน้ำพรวนดิน โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาด้วยตัวเอง ประโยช์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม คือเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงมีส่วนร่วมในการทำกิจรรมร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งมีความสนุกสนานในการได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนและได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กของเด็กอีกด้วยรวมทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีภูมิทัศน์ทีสวยงามเหมาะที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กต่อไปโดยครูใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการ คือการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและครูเน้นสอนเรื่องการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยนำทฤษฎีของอิริค อิริคสัน ( Erik H.Erikson ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาเด็กปฐมวัยที่มีแนวคิดว่าเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้ใจคนอื่น. ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมคือ 1.วางแผนกระบวนการเรียนการสอน 2.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 3.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทและการดำเนินชีวิตประจำวัน 4.ประเมินผู้เรียนจากการทำกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมพื้นที่สีเขียว ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครู ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม มีความสนใจในกิจกรรมและภูมิใจในผลงาน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5003 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5003