กิจกรรมปรับปรุงสนามเด็กเล่น

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดเรือคำ (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวประพิศ ปูคะภาค

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน



            กิจกรรม ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ผู้ดำเนินงาน นางสาวประพิศ ปูคะภาค ๕๗๑๑๑๑๓๒๑๑๐๗ สถานที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดเรือคำ ตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี หลักการ ภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนั้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน สนามเด็กเล่นและเครื่องเล่นสนามเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับปรุงให้มีสภาพที่ดีและแข็งแรง ปลอดภัย เหมาะสำหรับเด็กรวมทั้งสภาพแวดล้อมบริเวรสนามเด็กเล่นควรต้องปรับปรุงดูแลรักษา ให้สะอาด อยู่เสมอและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กมีพื้นที่สีเขียวสนามเด็กเล่นและสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอใช้ อยู่ในสภาพที่ดีใช้การได้ดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีแหล่งเรียนรู้และบริการชุมชนเเละส่งเสริมผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน วิธีการจัดกิจกรรม ประชุมปรึกษากับหัวหน้าศูนย์เกี่ยวกับกิจกรรมปรับปรุงสนามเด็กเล่นและสิ่งแวดล้อมศูนย์ เสนอกิจกรรมต่อคณะกรรมการศูนย์ฯพร้อมคำแนะนำจากคณะกรรมศูนย์ฯ ทำหนังสือเชิญ คณะกรรมการ ผู้ปกครองและชุมชนเข้าประชุมปรึกษาเกี่ยวกับการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ขอความอนุเคราะห์บริจาคอุปกรณ์ผ้าแสลนจากผู้ใหญ่ใจดีได้บริจาคให้ทางศูนย์ฯ ดำเนินงานตามกิจกรรม ครู/เด็ก/ผู้ปกครองชุมชน ช่วยกันทำความสะอาดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆจัดสภาพแวดล้อมตัดหญ้าบริเวณสนามเด็กเล่นและช่วยกันเย็บแสลนมุงหลังคาเครื่องเล่นสนาม. ครู/เด็ก/ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสนามเด็กเล่น เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้สังเกตได้สัมผัสประสบการณ์จริง ประโยชน์ของกิจกรรม ผู้ปกครองชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อครูและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำกิจกรรม นักเรียนมีวินัยและความหวงแหน อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในศูนย์ นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมในศูนย์ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด น่าอยู่ สวยงาม - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสนามเด็กเล่นและเครื่องเล่นสนามอยู่ในสภาพที่ดี เพียงพอต่อผู้เรียน รูปแบบการสอน วิธีการสอนแบบมีส่วนร่วม. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกขั้นตอนเด็กได้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยการเรียนรู้ ตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดกิจกรรม เพราะเป็นการให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนแบบบูรณาการ. เนื้อหาวิชาต้องสัมพันธ์กับประสบการณ์ และวิธีชีวิตจริงของผู้เรียน เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตเน้นการส่งเสริมผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ เพียเจต์ได้กล่าวไว้ว่าความรู้ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยการเรียนรู้จากบุคคลต่างๆรอบตัวเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี มอนเตสซอรี่ การเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จากการเล่นภาคสนามและเครื่องเล่นสนามสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์พร้อมทั้งอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ การจัดกิจกรรมปรับปรุงสนามเด็กเล่นสอดคล้องกับศูนย์พัฒนาเด็กมีพื้นที่สีเขียวสนามเด็กเล่นและสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอใช้ อยู่ในสภาพที่ดีใช้การได้ดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีแหล่งเรียนรู้และบริการชุมชนเเละส่งเสริมผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4993 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4993