ทำสนาม BBL เพื่อส่งเสริมทักษะทางกายภาพและใช้สมองเป็นฐาน

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบึงแก (จังหวัดยโสธร)

ผู้จัดทำ นางสาวจันทิมา สาตรศิลป์

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ



            ทำสนาม BBL เพื่อส่งเสริมทักษะทางกายภาพและใช้สมองเป็นฐาน ระยะเวลา : 1 ตุลาคม 2558 - 30 พฤศจิกายน 2558 วิธีดำเนินการ 1. ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน วางแผนดำเนินงาน 2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์คิดแบบในการจัดทำ ขอบริจาคยางรถยนต์ ทำความสะอาด 3. เตรียมสถานที่/ ทำทางต่างระดับ ทรงตัว 4. ประชุมคณะทำงานผู้ปกครองเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน 5. ผู้ปกครอง ครู คนในชุมชน ลงมือสร้างสนามเด็กเล่น 6. ประชุมคณะทำงาน ผู้ปกครอง เพื่อสรุปการดำเนินโครงการ 7. เด็กเล่นสนาม BBL ที่มีคุณภาพ 8. ประเมินพัฒนาการเด็กทั้งกายภาพและทักษะสังคม หมายเหตุ : 1. ใช้ยางรถยนต์ประมาณ 50 เส้น ทาสี 2. ใช้สี เขียว ขาว ชมพู เหลือง ฟ้า ม่วง สีเขียว : เป็นสีที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติและชีวิต รู้สึกผ่อนคลาย อดทน ปลอดภัย สีขาว : เป็นสีที่เชื่อมโยงกับความดี ความหวัง เรียนง่าย เยือกเย็น สีชมพู : เกี่ยวข้องกับมิตรภาพและความรัก อ่อนโยน สีเหลือง : เกี่ยวข้องกับความสนุกสนานและมิตรภาพ มีพลัง มั่นใจ กระตุ้นให้สื่อสารและกระตุ้นการจำ สีฟ้า : รู้สึกสบายใจ สงบสุข อ่อนโยน มีสุขภาพดี สีม่วง : เชื่องโยงกับการใช้ความคิดสติปัญญา * สีแดง : ไม่เหมาะกับเด็กพิเศษ เพราะจะเร่งการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงหรือทำอะไรเร็วขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เด็กกล้าคิดกล้าตัดสินใจ คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา 2. กล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี 3. พัฒนาความสัมพันธ์ของระบบประสาทในการสั่งงานตลอดจนการรับรู้ 4. เด็กมีความอดทนสามารถรอคอย 5. เด็กมีความสนุนสนานสามารถปรับอารมณ์ได้ดี 6. เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสังคมได้ดี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กกล้าคิดกล้าตัดสินใจมีการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ 2. เพื่อให้เด็กได้มีกล้ามเนื้อแขนขาของเด็กแข็งแรงและมีการทรงตัวที่ดี 3. เพื่อให้เด็กปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย 4. เพื่อให้เด็กฝึกความอดทนและรู้จักการรอคอย 5. เพื่อให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ตัวบ่งชี้ที่สำเร็จ : 2.3,9.2,5.1,10.4,13.4,13.7,13.8,15.1,15.3,16.2,16.3,17.1,17.6,19.3,19.4,20.3,21.2,22.2,23.2 รูปแบบการสอน วีธีการสอนแบบเล่นปนเรียน เป็นวิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ทักษะประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็กและการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่นได้แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กได้รู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน 1. การเล่นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เจริญเติบโต ช่วยให้เด็กรู้สึกสบาย ร่าเริงแจ่มใส เป็นการออกกำลังกายที่ดียิ่ง 2. การเล่นช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งอื่น ๆ ดีขึ้น ช่วยให้เด็กรู้จักปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ช่วยเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของเด็กที่ดี 3. การเล่นช่วยสร้างมิตรภาพและให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา รู้แพ้รู้ชนะและได้รับความพึงพอใจจากการเล่น 4. การเล่นของเด็กจัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง เด็กได้พัฒนาลักษณะต่าง ๆ จากการเล่นช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความรู้กว้างขวาง และทำให้เด็กทราบว่าตนชอบอะไร มีความสามารถทางไหน 5. การเล่นเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของเด็ก เพราะเด็กได้ระบายอารมณ์และความต้องการต่าง ๆ 6. การเล่นเป็นการฝึกมารยาท รู้จักการกระทำที่ถูกต้องจากการเล่น การสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) เป็นแนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาการจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผล ประเมินผลโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาวิชาที่จัด วิธีนี้เน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันมีการสร้างสถานการณ์ที่เร้าใจ ผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเอง จากการคิดลงมือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ เช่น การให้เด็กนับจำนวน การแยกสี การหาความแตกต่างของสิ่งต่างๆและให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการจัดกิจกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง (Brain-Based Learning) หรือ BBL เกิดจากความสนใจของนักการศึกษา นักจิตวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง มองว่า การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และกิจกรรมนั้นตื่นเต้นและท้าทาย ทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง เป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีการทำงานของสมอง และธรรมชาติสมองของเด็กแต่ละคน โดยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เราสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของสมองได้ด้วยการกระตุ้นที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ ยีนส์ อาหาร การออกกำลังกาย ดนตรี ศิลปะ ความรัก ความรู้สึกท้าทาย และการได้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นต้น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4985 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4985