กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโกศลมัชฌิมาวาส (จังหวัดนครพนม)
ผู้จัดทำ นางสาววรีภรณ์ สานา รหัส 571111321007
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
ขั้นตอนการทำ 1. กำหนดกิจกรรมที่ทำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโกศลมัชฌิมาวาสที่สอดคล้องกับโครงการ"ปรับปรุงภูมิทัศน์ รักษ์สิ่งแวดล้อม" 2. กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมฯ 3. ครู ผู้ปกครองและผู้เรียนร่วมกันจัดทำกิจกรรมในโครงการฯ 4. ครูและผู้ปกครองให้ความรู้ในเรื่องผักปลอดสารพิษให้กับผู้เรียน ประโยน์ของกิจกรรม 1. ครู ผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนร่วมพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ 2. บริเวณภายในภายนอกศูนย์ฯ อาคารสถานที่มีความสะอาด สวยงาม มีพื้นที่สีเขียว มีแหล่งเรียนรู้ และเอื้อต่อการเรียนการสอนและทำให้คุณภาพงานมีมาตรฐานสูงขึ้นมีจิตสำนึกที่ดีในการทำงานร่วมกันและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น รูปแบบการสอน 1.วิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning : PL) วิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม หรือศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ฝึกปฏิบัติการวาง แผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกัน และทำรายงานผลการเรียนรู้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเป็นการ ให้ผู้เรียนค้นพบตนเอง เข้าใจความต้องการและทราบถึงระดับความสามารถของตนเอง ซึ่งจะเป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น 2. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) หมายถึง แนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาการจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผล ประเมินผลโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาวิชาที่จัดต้องให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตจริงของผู้เรียนเพื่อให้ ความรู้นั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิดลง มือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ 3. การเรียนรู้จากสภาพจริง (Authentic Learning) การเรียนรู้จากสภาพจริง (AuthenticLearning) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง การร่วมมือกันทำงาน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นการ สร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ - การพัฒนาตามจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4967 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4967