สวนสมุนไพรใส่ใจสุขภาพ

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชุมชนบ้านดอนจิก(จรรยาราษฎร์) (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาววิภาพักตร์ พรหมดี 571111321181

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



            ปัจจุบันหลักสูตรในระดับปฐมวัยจะเป็นการจัดประสบการณ์ โดยเน้นการเรียนรู้จากธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแหล่งเรียนรู้พื้นที่สีเขียวภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและรู้จักการแก้ปัญหา รับผิดชอบต่อหน้าที่ สามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ การเปิดโอกาสให้เด็ก ได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเองในแต่ละด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาครบทั้ง4ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชุมชนบ้านดอนจิก(จรรยาราษฎร์)จึงจัดให้มีพื้นที่สีเขียวที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยความร่วมมือของเด็ก ครูและผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้กำหนดโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้(พื้นที่สีเขียว) ขึ้น โดยจัด กิจกรรมสวนสมุนไพรใส่ใจสุขภาพ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้สวนสมุนไพรเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กและชุมชน 2. เพื่อให้เด็ก ครู ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 3.เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ 5.เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน 6.เพื่อให้เด็กมีแหล่งเรียนรู้พหุวัฒนธรรม 7.เพื่อให้เด็กเกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 8.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องดอกไม้ ผักและสมุนไพร ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1.ประชุมผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ 2.ผู้ปกครองและเด็กนำสมุนไพรมาคนละ 1 ชนิด 3.เตรียมดินและกระถางปลูกสมุนไพรชนิดต่างๆ 4.เด็ก ครู ผู้ปกครองร่วมกันปลูกสมุนไพร 5.จัดทำป้ายชื่อและสรรพคุณของสมุนไพร 6.ครูและเด็กร่วมกันสรุปการทำกิจกรรม ประโยชน์ที่ได้รับ 1. สวนสมุนไพรเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กและชุมชน 2. เด็ก ครู ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 3.เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ 5.เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน 6.เด็กมีแหล่งเรียนรู้พหุวัฒนธรรม 7.เด็กเกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 8.เด็กได้เรียนรู้เรื่องดอกไม้ ผักและสมุนไพร ใช้รูปแบบการเรียนรู้ การเรียนรู้จากสภาพจริง(Authentic learning) การเรียนการสอนจะเน้นที่การปฏิบัติจริง การร่วมมือกันทำงาน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะต่างๆที่เป็นการสร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง การเรียนการสอนแบบบูรณาการ(Integrated Leaning) เน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้างสถานการณ์ที่เร้าความสนใจและผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิด ลงมือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Leaning:PL) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการตัดสินใจเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม ผู้เรียนจะร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ฝึกปฏิบัติการวางแผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกัน การจัดกิจกรรมสวนสมุนไพรใส่ใจสุขภาพสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ จอห์น ดิวอี้ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการกระทำในสถานการณ์จริง เน้นการปฏิบัติจริง เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงและการแก้ปัญหา เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น กิจกรรมสวนสมุนไพรใส่ใจสุขภาพทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชุมชนบ้านดอนจิก(จรรยาราษฎร์)มีสภาพแวดล้อม พื้นที่สีเขียวและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา มีแหล่งเรียนรู้และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดและพัฒนาการศึกษา

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4957 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4957