สืบสานวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น (งานบุญกฐิน)

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านพลับ (จังหวัดยโสธร)

ผู้จัดทำ นางนงลักษณ์ จันทร์พันธ์ 571111321046

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์



             พุทธศาสนาเป็นสถาบันทางสังคมของประเทศไทยที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความมั่นคงของชาติ กิจกรรมสำคัญทางศาสนา งานบุญกฐิน จึงเป็นอีกหนึ่งความสำคัญที่ควรนำมาจัดประสบการณ์สำคัญให้กับเด็ก ได้ฝึกทักษะกระบวนการขั้นตอนในการทำกิจกรรมล้วนเป็นการเรียนรู้จากการประสบการณ์จริง และยังสามารถเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้อย่างครอบคลุม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านพลับ ได้จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นร่วมกับชุมชน ผู้ปกครองเด็กและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายดำเนินกิจกรรมงานกฐิน เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามด้านคุณธรรม-จริยธรรม ให้เด็กเรียนรู้ อนุรักษ์ หวงแหนขนบธรรมเนียมประเพณี และยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสังคม รู้จักการปรับตัวให้เข้าร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่อีกด้วย กิจกรรม สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ( งานกฐิน) วิธีดำเนินการ 1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. ประชุมร่วมกันระหว่าง ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 3. วางแผนการจัดงาน 4. ประสานงานด้านต่างๆ ดังนี้ - ด้านประวัติศาสตร์ - ด้านประเพณีท้องถิ่น - ด้านศิลปวัฒนธรรม 5. เตรียมงานและดำเนินการ 6. ติดตามสรุปและประเมินผล ระยะเวลาในการดำเนินงาน เดือน พฤศจิกายน 2558 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้รู้จักวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น 2.เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของงานประเพณี 3.เพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในชุมชนปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามในท้องถิ่น ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ 1. เด็กเกิดความรู้สึกรักหวงแหนและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป 2. เด็กได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น 3. เด็กได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิต รู้ถึงคุณค่าประเพณีในท้องถิ่น 4. เด็กได้เรียนรู้การมีส่วนร่วมในชุมชน สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนในท้องถิ่น ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามทางคุณธรรม-จริยธรรม รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.การสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) -เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมลักษณะกลุ่มหรือศึกษาด้วยตนเอง หรือการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน่องจากการเรียนรู้แบบนี้เป็นการดึงเอาประสบการณ์ศักยภาพของผู้เรียนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีของ จอห์น ดิวอี้ ( John Dewey) ว่าได้เริ่มใช้วิธีการเรียนรู้จากการกระทำ (Learning by doing) เป็นพื้นฐานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการดึงเอาความสามารถของผู้เรียนออกมา 3.การสอนแบบบูรณาการ (Integrate curriculum) -สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการดำเนินชีวิตมนุษย์ทั้งในด้านจุดมุ่งหมายเนื้อหาการจัดกิจกรรมตลอดจนการวัดผลประเมินผลโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุดเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาวิชาที่ต้องจัดให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้ความรู้นั้นนั้นไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) การเรียนรู้แบบบูรณาการหรือ การเชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆเข้าด้วยกัน ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะเพิ่มเติมและหลากหลาย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4948 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4948