เครื่องเคาะจังหวะ

สร้างโดย ศพด. อบต. สำโรงพลัน (จังหวัดศรีสะเกษ)

ผู้จัดทำ ศพด. อบต.สำโรงพลัน

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย



            ลักษณะสำคัญหรือรูปแบบ เครื่องเคาะจังหวะ เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์มาจากฝาขวดน้ำต่างๆ โดยการนำมาแปรรูปให้เป็นวงและแบน เหตุผลในการประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะ หาง่ายในท้องถิ่นและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ต่างๆในการผลิต ซึ่งวิธีการเล่นง่ายสำหรับเด็ก เคาะไปตามจังหวะเสียงเพลง แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่ใช้ การเล่นถือเป็นทฤษฎีที่สำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย เด็กจะมีความรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้รู้จักการเข้าสังคมและรู้จักสังเกต รู้จักคิด ทดลอง มีความคิดที่สร้างสรรค์ แก้ปัญหาเองได้ การเล่นจะมีผลดีต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาจากการเล่นเครื่องเคาะจังหวะ เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการแสดงออก เรียนรู้ตามความรู้สึกของเพื่อน สร้างความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน รู้จักแบ่งปันกันเล่นและกล้าที่จะแสดงออก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนรู้จักการเล่นเครื่องเคาะจังหวะตามเสียงเพลง 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนรู้จักเครื่องเคาะจังหวะนวัตกรรมใหม่ ลำดับขั้นตอนกิจกรรมการพัฒนา ขั้นนำไปสู่บทเรียน 1. ครูพาเด็กๆเดินเก็บฝาขวดน้ำต่างๆรอบๆร้านค้า 2. ครูและนักเรียนสนทนา เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น ขั้นสอน 1. นักเรียนและครูร่วมสนทนาถึงประโยชน์ของฝาขวดน้ำต่างๆ 2. นักเรียนและครูร่วมสนทนาถึงเครื่องเคาะจังหวะทำไมถึงมีเสียงดังได้ 3. ครูนำฝาขวดน้ำ,ลวด,ท่อน้ำ PVC ขนาดเล็ก แล้วให้นักเรียนร่วมกันประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะ โดยครูจะบอกขั้นตอนการประดิษฐ์ 4. เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้ว นักเรียนช่วยกันกวาด เก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย 5. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาถึงวิธีการเล่นเครื่องเคาะจังหวะ 6. นักเรียนทดลองเล่นเครื่องเคาะจังหวะ 7. ครูให้เด็กๆได้เล่นเครื่องเคาะจังหวะทุกคน ขั้นสรุป 1. ครูสังเกตพฤติกรรมและบันทึกผลการเรียนของนักเรียน 2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเล่น เครื่องเคาะจังหวะ ผลการดำเนินงาน 1. เด็กนักเรียนมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อได้ดี 2. เด็กนักเรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับหูได้ดี

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=494 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 494