โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซำเม็ง อบต.เสาธงชัย จัดทำโดย นางสาวละมุดแก้วนอก (จังหวัดศรีสะเกษ)

ผู้จัดทำ นางสาวละมุด แก้วนอก

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ 1. หลักการและเหตุผล ความสัมพันธ์ของครอบครัวมีส่วนในการส่งเสริมด้านความรัก ความอบอุ่น เมื่อเด็กมาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะมีครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้จัดขึ้นสำหรับเด็กนั้น จึงได้เริ่มจัดโครงการ ผักสวนครัวผักและรั้วกินได้ที่จะนำมาปลูกคือ ผักบุ้งจีนเพราะผักบุ้งจีนเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และการเจริญเติบโตสามารถขึ้นได้รวดเร็วทนต่อสภาพอากาศ เพื่อให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำให้พ่อแม่ลูกได้ปลูกผักสวนครัวร่วมกัน เด็กจะเห็นคุณค่าและการดูแลผักที่ตนเองปลูกร่วมกัน โดยครูจะได้เชิญผู้ปกครองมาเป็นวิทยากรในการสาธิตปลูกผักบุ้งและร่วมกันดูแลผัก 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและครู 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูและเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในการทำกิจกรรม 3. เพื่อให้เด็กได้รู้จักการดูแลผัก และมีความรับผิดชอบ 4. เพื่อให้เด็กๆได้สังเกตการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูกับผู้ปกครอง 5. เพื่อนำผักสวนครัวที่ปลูกร่วมกันนำไปประกอบอาหารที่บ้าน 6. เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองคิดทำเมนูจากผักบุ้งจีนและนำมาสนทนากับครูและเพื่อน 4. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน ขั้นที่ 1. ปรึกษาและประชุมกับบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ ขั้นที่ 2 นำเสนอโครงการต่อผู้อำนวยการ ขั้นที่ 3 จัดทำหนังสือเรียนเชิญผู้ปกครองเข้ามาเป็นวิทยากรให้ความรู้และสาธิตวิธีการปลูกผักบุ้งจีน ในการกิจกรรม โครงการผักสวนครัวและรั้วกินได้ ขั้นที่ 4 ดำเนินงานตามโครงการเมื่อผู้ปกครองเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเด็กแล้ว ผู้ปกครองให้ความรู้และสาธิต ขั้นตอนและวิธีการปลูก การดูแล ผักบุ้งจีน ครูให้เด็กจับกลุ่มละ 6 คน ทั้งหมดจะมี 5 กลุ่ม ในการดูแลรดนำ้ผัก ครูและผู้ปกครองได้จับทำแปลงผักไว้ให้แต่ละกลุ่ม ครูและเด็กร่วมกันตั้งชื่อกลุ่มให้แต่ละกลุ่ม มีสัญญาลักษณ์ประจำกลุ่ม เป็นรูปไก่ เป็ด สุนัข วัว แมว ทำป้ายติดไว้ที่แปลงผัก เมื่อผู้ปกครองให้ความรู้และพาเด็กปลูกผักไปพร้อมกัน โดยครูและผู้ปกครองจะให้คำแนะนำ เมื่อเสร็จแล้ว ครูและเด็กร่วมกันสังเกตการเจริญเติบโตของผักบั้งจีน จนผักสวนครัวโตเต็มที่พร้อมที่จะนำไปประกอบอาหารปลูก เด็กและครูคิดเมนูอาหารจากผักบุ้งจีนนำมาสนทนากับครูและเพื่อน ผู้ปกครองและครูพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจของเด็กในการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของเด็กในการทำกิจกรรม รูปแบบการเรียนการสอนแบบการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสใหผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจในการเลือกบทเรียน ที่ต้องเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มหรือศึกษาด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ดวยทุกครั้งตอน ฝึกปฏิบัติการวางแผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกันและการรายงานผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีหลักการและวิธีการเกี่ยวกับโครงงาน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเป็นการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เข้าใจความต้องการและระดับความสามารถของตัวเองซึ่งเป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในทำกิจกรรมทำให้เด็กเกิดความสนใจมากขึ้น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4939 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4939