กิจกรรมปลูกพืชสมุนไพร
สร้างโดย ศพด.ตำบลโคกหินแฮ่ (จังหวัดนครพนม)
ผู้จัดทำ นางสาวกัลยารัตน์ เจ็กมาก
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
กิจกรรมปลูกพืชสมุนไพร สวนสมุนไพรเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกหินแฮ่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนที่ดีและเหมาะสมกับวัยและโครงการปลูกพืชสมุนไพรนี้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คือการนำพืชพันธ์สมุนไพรมาจากบ้าน การปลูก การดูแลรักษา ซึ่งกิจกรรมในโครงการนี้จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงมีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัยอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ พื้นที่สีเขียวและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสวยงาม 2.เพื่อให้เด็ก ครู ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 3.เพื่อให้เด็กรู้จักคุณค่าและประโยชน์ของพืชสมุนไพร เป้าหมาย : เชิงคุณภาพ 1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกหินแฮ่ รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม มรดกทางภูมิปัญญาด้านสมุนไพร ของไทย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านพืชสมุนไพร แก่เด็ก ครู และบุคลากรทางการศึกษา เชิงปริมาณ 1. เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกหินแฮ่ ผู้ปกครอง และชุมชนใกล้เคียง ขั้นตอนการทำ 1. กำหนดกิจกรรมที่ทำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกหินแฮ่ ที่สอดคล้องกับโครงการ"ปรับปรุงภูมิทัศน์ รักษ์สิ่งแวดล้อม" 2. กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมฯ 3. เด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้เรียนร่วมกันจัดทำกิจกรรมในโครงการฯ รูปแบบการสอน 1.วิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning : PL) วิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม หรือศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ฝึกปฏิบัติการวาง แผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกัน และทำรายงานผลการเรียนรู้ 2. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) การเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิดลง มือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ 3. การเรียนรู้จากสภาพจริง (Authentic Learning) การเรียนรู้จากสภาพจริง เป็นการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง การร่วมมือกันทำงาน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นการ สร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ - การพัฒนาตามจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4938 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4938