ผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพนสวาง (จังหวัดมุกดาหาร)

ผู้จัดทำ น.ส.ปลายฟ้า สาฤาษี

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            กิจกรรม ผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว วิธีดำเนินการ ระยะเวลาในการดำเนินงาน เดือน พฤศจิกายน 2558 1. ประชุมร่วมกันระหว่าง ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง 2. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 3.ประสานงานเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ด้านการผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว 4. เชิญผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว 5. ครูและผู้ปกครองจัดหากะลามะพร้าวเพื่อมาผลิตสื่อครบตามจำนวนผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม 6. วิทยากรสาธิตวิธีผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว 7. ครูและผู้ปกครองร่วมกันผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว 8. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคที่พบ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อผู้เรียนได้เล่นของเล่นที่ผลิตจากวัสดุท้องถิ่น 2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน 3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ 4. เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว ประโยชน์ 1. ผู้เรียนได้เล่นของเล่นที่ผลิตจากวัสดุท้องถิ่น 2. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน 3. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่และยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 4. ครูจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาผลิตสื่อ 5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผลิตสื่อจากกะลามะพร้าว รูปแบบการจัดกิจกรรม วิธีสอนแบบสาธิต หมายถึงวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วน ใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการทาให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การ กระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมบ้าง การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) หมายถึง แนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาการจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผล ประเมินผลโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเนื้อหาวิชาที่จัดต้องให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตจริงของผู้เรียนเพื่อให้ ความรู้นั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิดลง มือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4937 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4937