ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ลานกิจกรรม)
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสามขัว-ดอนสวรรค์ (จังหวัดมุกดาหาร)
ผู้จัดทำ นางสาววัชรินทร์ญา รุ่งโรจน์
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ระยะเวลา : 2 พฤศจิกายน 2558 - 15 พฤศจิกายน 2558 วิธีดำเนินการ 1. คณะครู บุคลากร ร่วมประชุมปรึกษาเกี่ยวกับกิจกรรม 2. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 3. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เพื่อวางแผนการทำงาน 4. ลงมือปฏิบัติงานตามแผนงาน 5. เด็กเล่นในลานกิจกรรม 6. ติดตามประเมินผลการเล่นในลานกิจกรรม 7. สรุปผลและรายงานโครงการกิจกรรม หมายเหตุ : 1. เสาที่ใช้ทำโครงสร้างลานกิจกรรม คือ ไม้ยูคาลิปตัส ที่ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมบริจาค 2. รั้ว ทำจาก ไม้ไผ่ ที่ผู้ปกครองชุมชน ร่วมบริจาค 3. หลังคา ศาลาหลังเล็ก มุงจากไผหญ้า (หญ้าคา) ที่ผู้ปกครอง ชุมชนร่วมบริจาค 4. ปลูกกล้วยน้ำหว้า ที่ ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมบริจาค บริเวณรั้วด้านหลัง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประโยชน์ที่เด็กได้รับ 1. ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สวยงามและมีความปลอดภัย 2. ผู้เรียนมี่อ นวัตกรรม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3. ผู้เรียนได้ับประสบการณ์ตรงในการร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน วัตถุประสงค์ 1.เพื่อดำเนินการปรับปรุงลานกิจกรรมให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีลานกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการทำกิจกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ 3. เพื่อให้สภาพแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย น่าอยู่ สวยงาม 4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการจัดกิจกรรมดังนี้ รูปแบบที่ 1 วิธีสอนแบบเล่นปนเรียน ....... (เฟรอเบล) 1. เหมาะสาหรับเด็กเล็ก ๆ อนุบาล ประถม 2. มุ่งที่จะนาเอาการไม่อยู่นิ่งของเด็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ความเจริญเติบโต 3. มักใช้กับบทเรียนที่ไม่เพ่งเล็งด้านปริมาณของเนื้อหา 4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเล่นอย่างสนุกสนาน 5. มีจุดมุ่งมายให้เด็กเล่นในสิ่งที่เป็นคุณค่าทางการศึกษา ภายใต้การควบคุมของครู 6. ครูต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเล่นของเด็ก รูปแบบที่ 2 การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) หมายถึง แนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับ การดาเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาการจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผล ประเมินผลโดยมรเป้าหมายสาคัญสูงสุด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาวิชาที่จัดต้องให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตจริงของผู้เรียนเพื่อให้ ความรู้นั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทากิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิดลง มือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ รูปแบบที่ 3 การเรียนรู้จากสภาพจริง (AuthenticLearning) การเรียนการสอนจะเน้นที่การปฏิบัติจริง การร่วมมือกันทางาน การคิดอย่างมีจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นการ สร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4936 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4936