สืบสานร้อยเรียงบทค่าวพื้นเมือง

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลทุ่งหัวช้าง (จังหวัดลำพูน)

ผู้จัดทำ นางสาวศุภัชญา กายาเมา

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน



             1. ชื่อเรื่องที่สอน สืบสานร้อยเรียงบทค่าวพื้นเมือง 2. สาระที่สอน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ 3. ชั้นที่สอน ชั้นเตียมอนุบาล 3-4 ปี 4. กิจกรรมที่จัด (ระบุกิจกรรม : ยกตัวอย่าง) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลทุ่งหัวช้าง ได้จัดกิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหายไปอย่างเช่น “ค่าว”เป็นการนำเรื่องราวมาร้อยเรียงแต่งเป็นบท “ค่าว”ใส่ท่วงทำนอง เสียงเอื้อนเอ่ย ที่มีความไพเราะ น่าฟัง ซึ่งปัจจุบันมีไม่กี่คนที่จะค่าวได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายคนรุ่นเก่าเช่น ปู่ ตา ลุง ทางศูนย์เด็กฯเห็นความสำคัญในการค่าว เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของภูมิปัญญาไทยให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้สืบสานให้กับรุ่นต่อๆ ไป จึงได้เสาะหาผู้เชี่ยวชาญในการ “ค่าว” อย่าง พ่อหน๋านตั๋น บุตรจุมปา ซึ่งอยู่หมู่บ้านทุ่งหัวช้าง เป็นวิทยากรให้ความรู้ เล่าความเป็นมา ตลอดจนการเรียบเรียงใส่ทำนองพร้อมกับสาธิตการค่าวให้ฟัง 4.1 วิทยากรอธิบายเล่าความเป็นมาของการ “ค่าว” ตั้งแต่อดีตให้นักเรียนและกลุ่มผู้สนใจฟัง 4.2 วิทยากรนำบท“ค่าว” เป็นตัวอย่างให้นักเรียนและกลุ่มผู้สนใจได้ศึกษาการเรียบเรียงโดยนำเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดมาเป็น “ค่าว” 4.3 วิทยากร “ค่าว” เป็นตัวอย่างให้ฟัง 1 รอบ 4.4 วิทยากรให้เด็กและกลุ่มผู้สนใจ ท่อง“ค่าว” ตามวิทยากรในแต่ละวรรค แต่ละบท 5. ผู้จัดกิจกรรม (วิทยากร) พ่อหน๋านตั๋น บุตรจุมปา 6. สถานที่จัดกิจกรรม ในศูนย์เด็กฯ ห้องเรียน นอกศูนย์เด็กฯ วัด, อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน 7. บทบาทครูประจำวิชา ครูประจำจัดเตรียมห้องสำหรับเชิญวิทยากร (พ่อหน๋านตั๋น) การสอน และสาธิตการเล่า “ค่าว” คอยควบคุมห้องเรียนระหว่างวิทยากรทำกิจกรรม ช่วยพ่อหน๋านตั๋นเมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจอาจเป็นผู้ช่วยสอนโดยครูควรมีความรู้พื้นฐานเบื้องต้นในการศึกษากับวิทยากรหรือผู้ชำนาญการก่อนหน้านี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เด็กและวิทยากรด้วยอีกทาง 8. บทบาทเด็ก เด็กเป็นผู้ที่ต้องคอยปฏิบัติตามคำสั่งของวิทยากร (พ่อหน๋านตั๋น) เมื่อมีการสอนเล่า “ค่าว” และเข้าใจเกี่ยวกบข้อตกลง กติกา ให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมกับวิทยากร มีพื้นฐานด้านการออกเสียงเพื่อให้การเอื้อนเสียง ทำนองของ “ค่าว” จะได้เกิดความไพเราะ น่าฟัง 9. การวัดและประเมินผล - แบบบันทึกเข้าร่วมกิจกรรม - แบบสังเกตพฤติกรรม - แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10. ความสัมพันธ์ของวิชาที่จัดการสอนกับบุคคลอื่น การจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีท้องถิ่น เล่า “ค่าว” บุคคลอื่นที่สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้สามารถร่วมกิจกรรมได้ทั้งในสถานศึกษา ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ วันศุกร์ เวลา 09.00 – 11.00 น. และนอกสถานศึกษา เช่น วัด อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่มีการจัดกิจกรรมขึ้น เช่น ในงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมพิธีกรรม รุกขมูล ระหว่างวันที่ 1-10 มกราคม ของทุกปี งานวันแห่ไม้ค้ำสี ในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี และงานสลากภัตร วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นต้น โดยทางโรงเรียนจะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้ผู้ที่บุคคลอื่นที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกับทางศูนย์เด็กฯ """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" ค่าวดอกไม้ ดวงดอกไม้เบ่งบานผายเผย จี๋ดอกปูเลยลมเจยกิ่งเซิ้ง แมงภู่บินต๋อม ภมรหมู่เผิ้ง หอมทั่วในดงป่าแพะ กุหลาบสีเหลือง เอื้องเงิน เอื้องแซะ จำป๋า แผก ใต้ใบซอน เอื้องต๋ายป๋ายยก ก๋าปีกก๋าหลง ดอกบัวละวงค์ อูนออน ดอกสร้อย แสล่งหอมไก๋ ต๋ายเหินหน้าย้อย ออกต๋ามปงจำน้ำข้าง ขะมอกผิวเหลือง เอื้องเงิน เอื้องจ้าง ออกต๋ามป่าข้างดงดี สลิดสลัก แบ่งบานเป็นจี๋ สาละปีดง จำป๋าแผกใต้ ค่าวนก บดีเอานก มาร่วมกักขัง สอนปากเป็นคำ ฟู่จาออดอ้อน คนเลี้ยงสนุก แต่สัตว์ทุกข์ข้อน เนอจี๋บัวตอง- ดอกไม้ เต็มว่าเราแปง โขงคำใส่ไว้ บ่สะดวกได้- เตียว-บิน เต็มได้อิ่มท้อง เข้า-น้ำคำกิน บ่เหมือนได้บิน สอดดงป่ากว้าง ได้พลัดพรากเสีย ผัวเมียร่วมข้าง ในหิมพานต์ เทศท้อง ลูก-เมียเขา คงไห้ร่ำร้อง เซาะหาคู่ถ้อง- สามี ละลูกกำพร้า โศกเศร้าหมองขวี สุดเจ้นชีวี บ่ได้หันหน้า ใต่เต้าติดตาม อกดีแตกอ้า หาคู่ชีวา- บ่พบ ได้พลัพรากเสีย ผัว-เมียคุ่คบ เคยเขิงปีกอ้า- บินเซา เวรกรรมห้าร้อย ศาเศร้าหมองเหงา จักมาเถิงเรา วันหนึ่งหื้อได้ ค่อยฟังเทอะตัว แม่คำพับใต้ จู่งปล่อยมันไป- เทอะนก

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4669 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4669