โครงการผู้สูงวัยใส่ใจลูกหลาน

สร้างโดย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดบ้านตัวอย่าง (จังหวัดกระบี่)

ผู้จัดทำ นางพิมพ์วลัญช์ หนูเอียด

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            ความหมาย ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ที่นำมาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้านเช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญา ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Folk Wisdom) ได้มีผู้ความหมายดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 2)หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนการศึกษา สังเกตคิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาเป็นศาสตร์ เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ อาจกล่าวไว้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ แลการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในการตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาเพื่อศึกษา และนำมาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกันเกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคตามสมัยได้ ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ (2542 : 2) ได้ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ องค์ความรู้ความสามารถของชุมชนที่สั่งสมสืบทอดกันมานาน เป็นความจริงแท้ของชุมชนเป็นศักยภาพที่จะใช้แก้ปัญหา จัดการปรับตน เรียนรู้ และถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างผาสุก เป็นแก่นของชุมชนที่จรรโลง ความเป็นชาติให้อยู่รอดจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งปวง จารุวรรณ ธรรมวัติ (2543 : 1) ได้ให้ความหมาย ของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ แบบแผน การดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคมซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคล หรือทรัพยากรความรู้ก็ได้ จากการศึกษาความหมายและแนวคิดของภูมิปัญญาของชาวบ้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นพอสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถในการดำเนินชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ โดยใช้สติปัญญาสั่งสมความรู้อย่างแพร่หลาย ผสมผสานความกลมกลืนระหว่างศาสนา สภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมการประกอบอาชีพ และกระบวนการเหล่านี้มาจนหลายชั่วคนซึ่งจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น เกิดจากการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์เป็นระยะเวลายาวนาน โดยอาศัยภูมิปัญญาที่มีอยู่มาใช้ในการตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพการปรับตัวและแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต จนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติและสังคม หมากเก็บ การละเล่นยอดฮิตสำหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวดกลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์ กติกาก็คือ ต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เล่นก่อน โดยใช้วิธี "ขึ้นร้าน" คือแบมือถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้ แล้วโยนหมาก ก่อนจะหงายมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับหมากอีกที ใครมีหมากอยู่บนมือมากที่สุด คนนั้นจะได้เป็นผู้เล่นก่อน จากนั้นจะแบ่งการเล่นเป็น 5 หมาก โดยหมากที่ 1 ทอดหมากให้อยู่ห่าง ๆ กัน แล้วเลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ก่อนจะไล่เก็บหมากที่เหลือ โดยการโยนเม็ดนำขึ้น พร้อมเก็บหมากครั้งละเม็ด และต้องรับลูกที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" หรือถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่า "ตาย" เช่นกัน ในหมากที่ 2 ก็ใช้วิธีการเดียวกัน แต่เก็บทีละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับหมากที่ 3 ใช้เก็บทีละ 3 เม็ด ส่วนหมากที่ 4 จะไม่ทอดหมาก แต่จะใช้ "โปะ" คือถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขึ้นร้าน" ได้กี่เม็ดถือเป็นแต้มของผู้เล่นคนนั้น ถ้าไม่ได้ถือว่า "ตาย" แล้วให้คนอื่นเล่นต่อไป โดย "ตาย" หมากไหนก็เริ่มที่หมากนั้น ปกติการเล่นหมากเก็บจะกำหนดไว้ที่ 50-100 แต้ม ดังนั้นเมื่อแต้มใกล้ครบ เวลาขึ้นร้านต้องระวังไม่ให้แต้มเกิน ถ้าเกินต้องเริ่มต้นใหม่ รีรีข้าวสาร เชื่อเลยว่า ชีวิตในวัยเด็กของคนส่วนใหญ่ผ่านการละเล่น "รีรีข้าวสาร" มาแล้ว และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า "รีรี ข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว" ได้ด้วย กติกา รีรีข้าวสาร ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด ประโยชน์ของการเล่นรีรีข้าวสาร ก็คือ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหวพริบ ใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองเอาตัวรอดจากการถูกคล้องไว้ได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วย ม้าก้านกล้วย เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนำก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทำเป็นดาบรบกันก็ได้ วิธีทำม้าก้านกล้วย เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วยออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทำเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นำแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสายบังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็ได้ม้าก้านกล้วยไปสนุกกับเพื่อน ๆ แล้ว ขนมโค ขนมโคขนมพื้นบ้านชาวปักษ์ใต้ คล้ายขนมต้มขาวของคนภาคกลาง เชื่อว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ขนมโคยังมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนพื้นถิ่นที่ว่า ขนมโค เป็นขนมมงคล ใช้บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือทั้งผี-พราหมณ์-พุทธ เช่น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระพิฆเณศ และคงไม่แปลกอะไร ที่ชาวบ้านจึงได้นำวัสดุท้องถิ่นมาทำเป็นขนมเพื่อบูชา แทนการใช้ขนมลาดูที่ชาวอินเดียบูชาองค์พิฆเณศ ซึ่งทางปักษ์ใต้เอง ก็มีขนมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ขนมดู ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล มะพร้าว เช่นเดียวกับขนมลาดูแต่ขนมดูนั้นยังไม่อยู่ในความรับรู้ว่า สามารถนำมาใช้บูชา บนบานองค์พิฆเณศได้หรือไม่ หรืออาจไม่เป็นที่นิยมเพราะไม่อร่อยเหมือนกับขนมโค ซึ่งได้รับความนิยมสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันมากกว่า ทำให้ความรับรู้นั้นคลี่คลาย และลืมเลือนไปอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์ของขนมโคกับพื้นถิ่นใต้นั้นน่าจะสืบเนื่องมาจาก บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ ในอดีตเป็นสะพานเชื่อมโยงการค้าระหว่างโลกตะวันออก(จีนเป็นหลัก)-ตะวันตก(อินเดีย อาหรับ โรมัน)เกิดเป็นชุมชนสถานีการค้าเมืองท่าทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน บรรดาพ่อค้าจากอินเดียและจีนเดินเรือเลียบชายฝั่งมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ ตั้งถิ่นฐาน เช่นเมืองตะโกลา (Takola) หรือตะกั่วป่า เมืองไชยา แหลมโพธิ์ สุราษฎร์ธานี ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราช ซิงก่อร่า สงขลา(บริเวณคาบสมุทรสทิ้งพระ)ในการเข้ามาของพ่อค้านัก บวช(พราหมณ์-พุทธ)จากอินเดียนั้น ได้นำลัทธิ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธ เข้ามาเผยแพร่ เกิดการผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่น(ผี) ความเชื่อเหล่านี้ได้ฝังหยั่งรากลึกลงบบผืนดินแห่งคาบสมุทร กลายเป็นวัฒนธรรมความเชื่อ การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนถึงรูปแบบพิธีกรรมเฉพาะถิ่นใต้ขึ้น เช่นการบนบานองค์พิฆเณศ ด้วยขนมโค เป็นต้น ชุมชนโบราณบริเวณเขาคูหา - เขาพะโคะ พบโบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์เช่น ศิวลึงค์ รูปเคารพพระศิวะ พระวิษณุ ส่วนผสมหลักของขนมโค 1. น้ำ 2. เกลือ 3. ดอกอัญชัน 4. ใบเตย วิธีทำ 1. นำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำดอกอัญชัน(เก็บเอาข้างรั้วบ้าน ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ)ในอัตราส่วนที่พอเหมาะคือ นวดแล้วเข้ากันพอดี เนื้อแป้งไม่แน่นเกินไป หรือไม่แฉะเกินไป ใส่เกลือ1/2 ช้อนชา เพื่อให้แป้งพอมีรสชาติ หากเป็นสมัยปู่ย่าตายาย ต้องตื่นมาโม่แป้งข้าวเหนียวแต่เช้า สมัยนี้ซื้อแป้งถุงสำเร็จ ความอร่อยอยู่ที่ความขยันในการนวดแป้งค่ะ 2. เก็บใส่ภาชนะ ปิดฝามิดชิด(ห้ามให้น้ำเข้าเด็ดขาด) แช่ตู้เย็น ๑ คืน เพื่อให้แป้งนุ่มนวล 3. เมื่อนำออกจากตู้เย็น นวดให้แป้งคืนตัวอีกครั้ง 4. หั่นน้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลแว่น ชาวใต้เรียก น้ำผึ้งแว่น ขนาดลูกเต๋า ไม่ควรเป็นคำโต เพราะต้องใช้แป้งหนาในการหุ้มน้ำตาลแว่น ลูกโตไม่อร่อยค่ะต้องพอดีคำ 5. นำมะพร้าวขูด คลุกกับเกลือเพียงเล็กน้อย 6. ตั้งน้ำสะอาดต้มให้เดือด ใส่ขนมโคที่ปั้นลงไป 7. เมื่อแป้งสุก ขนมจะลอยตัวขึ้น ใช้ตะแกรงหรือกระชอนตัก พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ 8. น้ำลงคลุกมะพร้าวที่เตรียมไว้ คลุกเคล้าให้ถั่ว ขนมครก ขนมครก.. อาจเป็นอาหารเบา ๆ ยามเช้ากับกาแฟถ้วยโปรด บ้างก็เป็นของว่างยามบ่าย หรือกลายเป็นของหวานยามเย็น เพราะขนมครกหาซื้อได้ง่าย กลิ่นหอม.. ชวนหม่ำ.. หวาน.. มัน.. ถูกปาก ส่วนผสมตัวขนมครก 1. แป้งข้าวเจ้า 400 กรัม 2. แป้งข้าวเหนียวตราช้างสามเศียร 50 กรัม 3. น้ำกะทิ 3 ถ้วย 4. น้ำร้อนจัด 4 ถ้วย วิธีทำตัวขนมครก 1. เทแป้งข้าวเจ้า 400 กรัม ใส่อ่างผสม 2. ตามด้วยแป้งข้าวเหนียว 50 กรัม 3. ค่อย ๆ เท น้ำกะทิตามลงไป 3 ถ้วย 4. คนแป้ง เบา ๆ มือนะคะ ใส่น้ำร้อน 4 ถ้วย คนแป้ง อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ส่วนผสมทุกอย่าง ละลายเข้ากัน ส่วนผสมหน้าขนมครก . 1. หัวกะทิ 3 ถ้วย 2. น้ำตาลทราย 2 ถ้วย 3. เกลือ 2 ช้อนชา วิธีทำหน้าขนมครก 1. เทน้ำตาล ใส่อ่างผสม 2. ตามด้วยเกลือค่ะ 3. เทหัวกะทิ คนส่วนผสมทุกอย่าง... ให้ละลายเข้ากัน 4. นำถาดขนมครก ยกขึ้นตั้งไฟค่ะ เปิดไฟอ่อน ๆ ใช้น้ำมันใหม่ ๆ เช็ดให้ทั่วทุกหลุมขนมครก 5. พอถาด ขนมครก เริ่มร้อน... สังเกตว่ามีควันขึ้นเล็กน้อย... ตักแป้งตัวขนมครก หยอดได้เลย 6. หยอดแป้งตัวขนมครก อย่าให้เต็มหลุม เหลือไว้ หยอดหน้าขนมครก 7. หยอดไปได้ สัก 6-7 หลุม ต้องรีบกลับมาหยอดหน้าขนมค่ะ เพราะถ้าปล่อยให้แป้งตัวขนมสุก.. หน้าขนมที่เป็นหัวกะทิ.. จะไหล...หก..ตกทิ้ง.. 8. ปิดฝาทิ้งไว้จวนสุกจึงเปิดฝาออกและหยอดด้วยหน้ากะทิที่เตรียมไว้ โรยด้วยต้นหอมลงบนหน้ากะทิปิดฝารอสักพักจนสุก จึงแคะออก ควรทานขณะร้อนจะรสชาติดีกว่าทิ้งไว้จนเย็นก็คือ ขนมครกสวย ๆ สำ หรับทุกคน เพลงกล่อมเด็ก เสียงเพลงบทแรกที่มนุษย์ทุกคนได้ยินได้ฟังหลังจากที่ลืมตามาดูโลก ก็คือเสียงขับขานที่หวานซึ้งเสียง เห่กล่อมอันไพเราะที่กลั่นทั้งท่วงทำนอง เนื้อร้องมาจากหัวใจของแม่นั่นเอง ลูกคือดวงใจของพ่อแม่ คือศูนย์รวมความรักของครอบครัว การจะเลี้ยงดูให้ลูกเติบใหญ่ ก้าวไปอย่างมั่นคงคือหน้าที่อันยิ่งใหญ่และหนักหน่วงของพ่อแม่ ที่ทุ่มเทด้วยความรัก ความห่วงใย ความอาทรเพลงกล่อมเด็กจึงเกิดขึ้น ผ่านความรัก ความปรารถนาดี และหวงแหนทำให้เกิดความงามแห่งบทเพลงเพื่อขับกล่อม เพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงที่มีเนื้อความสั้น ๆ ร้องง่าย ชาวบ้านในอดีตมักร้องกันได้แทบทุกครัวเรือน เนื่องจากได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด คือการที่ได้ฟังพ่อแม่ร้องกล่อมตนเอง น้อง หลาน ฯลฯ เมื่อมีลูกก็มักร้องกล่อมลูก จึงเป็นเพลงที่ร้องกันได้เป็นส่วนมาก เราจึงพบว่าเพลงกล่อมเด็กมีอยู่ทุกภูมิภาคของไทย และเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทย 1. เพลงกล่อมเด็กจึงเป็นเพลงที่ฉายภาพของความรัก ความอาทร ของแม่ที่มีต่อลูกน้อย ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวาน แสดงถึงความอ่อนโยนในการจะปลอบโยนเจ้าเนื้ออ่อนให้หยุดอ้อน แล้วนอนเปล 2. เพลงกล่อมเด็กนอกจากจะใช้กล่อมให้เด็กนอนแล้ว ยังใช้ร้องประกอบการละเล่น ให้ความสนุกในจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง สอดคล้องกับความซุกซนของเจ้าตัวน้อย 3. บทเพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงที่ใช้คำง่ายๆ ไพเราะ มีเนื้อหาแสดงความรักและความผูกพันของแม่กับลูก สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทางวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกของคนไทยที่ให้เด็กนอนเปลสาย โดยแม่หรือคนในครอบครัวขับร้องเพลงกล่อมมีทั้ง ขู่ทั้ง ปลอบ และร้องเล่านิทานเพื่อให้เด็กเพลิดเพลินนอนหลับได้เร็วขึ้น 4. เพลงกล่อมเด็กถือเป็นคติชาวบ้านที่ใช้ภาษาเป็นสื่อ เป็นวรรณกรรมที่ไม่มีการเขียนหรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาศัยการท่องจำและบอกเล่าต่อๆ กันมา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามธรรมชาติที่แม่ได้ถ่ายทอดความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใยไปตามกระแสเสียงส่งถึงลูกน้อย 5. เพลงกล่อมลูกมักมีท่วงทำนองเห่กล่อมแช่มช้า ละมุนละไมอ่อนโยนเพื่อให้เด็กหลับง่าย และหลับอย่างเป็นสุข เนื้อหาถ้อยคำมักสะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิต นิทานพื้นบ้าน ที่มีความหมายในเชิงอบรมสั่งสอน พรรณนาความรักความผูกผันและฟูมฟักให้เด็กซึมซับความเป็นเด็กดีเป็นคนดีของสังคม 6. เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็กหลับโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบายแสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก 7. เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่แอบแฝงหลายประการ เช่น - การสอนภาษา เพื่อให้เด็กออกเสียงต่าง ๆ ได้โดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น - ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต การทำมาหากินของสังคมตนเอง การสร้างค่านิยมต่าง ๆ รวมทั้งการระบายอารมณ์และความในใจของผู้ร้อง - ส่วนมากแล้วเพลงกล่อมเด็ก มักมีใจความแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยลูก ซึ่งความรักและความห่วงใยนี้ แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเก็บเด็กไว้ใกล้ตัว - เป็นบทเพลงที่แสดงอารมณ์ ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก ซึ่งแต่ละบทมักแสดงถึงความรักความอาทร ทะนุถนอม ที่แม่มีต่อลูกอย่างซาบซึ้ง - เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและค่านิยมของคนในท้องถิ่นต่างๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกล่อมเด็กด้วยกันทั้งนั้น สันนิษฐานว่าเพลงกล่อมเด็กมีวิวัฒนาการจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอน - เพลงกล่อมเด็กก็เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน หลับง่าย และเกิดความอบอุ่นใจ ประโยชน์จากเพลงกล่อมเด็ก 1. ดนตรี เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ด้วยความรัก ความพยายาม ย่อมมีคุณค่าในตัวเอง และเป็นสิ่งที่มนุษย์ด้วยกันเอง ควรจะได้ชื่นชม การสัมผัสกับดนตรี ควรเริ่มมาแต่เด็ก เพื่อสร้างเสริม และพัฒนาความเข้าใจ ความซาบซึ้งอย่างแท้จริง นอกเหนือจากความงดงามที่มนุษย์จะได้จากดนตรีแล้ว ความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะที่ได้จากการฝึกฝนดนตรีมาตั้งแต่เด็ก มีผลในการสร้างเสริมความสามารถ ทั้งทางด้านสติปัญญา ความรู้สึก และพัฒนาการด้านอื่นๆ ด้วย การเรียนดนตรี จึงมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อเด็ก ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของประเทศ และสังคมโลกต่อไป 2. เพลงกล่อมเด็กเป็นการถ่ายทอดความอาทรห่วงใยออกมาทางเสียง เพลงกล่อมเด็กมีประโยชน์ในด้านจิตวิทยา คือสามารถช่วยให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ และเสียงเพลงยังตอบสนองความต้องการความรักของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีจิตใจที่มั่นคง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นและซึมซับคุณธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตตามที่ปรากฏในเพลง อีกทั้งยังช่วยให้เด็กคุ้นเสียงมนุษย์ซึ่งเป็นโอกาสอันดีสำหรับการเรียนรู้ภาษา 3. เพลงกล่อมเด็กนอกจากจะใช้กล่อมให้นอนแล้ว ยังเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ขับร้อง โดยมิได้มุ่งตกแต่งถ้อยคำให้สละสลวย แต่เป็นการพรรณนาออกมาจากส่วนลึกของจิตใจ ด้วยเหตุนี้บางครั้งเพลงกล่อมเด็กกลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่ให้ผู้ขับร้องได้ระบายความคับข้องใจ 4. เพลงกล่อมเด็กมักจะมีการใช้ถ้อยคำที่อ่อนโยน จังหวะการร้องและเอื้อนที่ช้าเนิบนาบ ทำให้เด็กจะได้รับความเพลิดเพลินใจ จิตใจสบาย อบอุ่น ไม่วิตกกังวล และเมื่อฟังบ่อย ๆ ก็จะซึมซับเข้าไปในจิตใจเป็นการกล่อมเกลานิสัยเด็กให้อ่อนโยนไปด้วย การกล่อมเด็กจะทำให้แม่ใกล้ชิดกับลูก เกิดความรักความอบอุ่น และสามารถกระตุ้นความสามารถในการใช้ภาษา และการสื่อสาร รวมถึงจะทำให้มองเห็นภาพสะท้อนทางสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมของคนในยุคนั้นอีกด้วย 5. เพลงกล่อมเด็ก จึงมีคุณค่ามากกว่าวรรณกรรมมุขปาฐะที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเพลงกล่อมเด็กคือรากเหง้าของวัฒนธรรมอันงดงามที่สะท้อนภูมิปัญญาที่ยอดเยี่ยมของสังคมไทยที่เราไม่ควรพัฒนาศักยภาพเด็ก มอญซ่อนผ้า การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4500 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4500