ผูกเชือกรองเท้าของหนู

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทากาศ (จังหวัดลำพูน)

ผู้จัดทำ ครูบุญส่ง อินต๊ะกาศ

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีทักษะการคิด,ภาษา,การสังเกต,การจำแนก,การเปรียบเทียบและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย



            รองเท้าเป็นสิ่งของที่มนุษย์สร้างสรรค์มาใช้ เพื่อปกป้องเท้าให้ปลอดภัยจากวัสดุแหลมคม จากเชื้อโรค และเพื่อความสวย งาม มีระเบียบในชีวิต รองเท้าที่คนเราออกแบบมานั้นมีวัตถุประสงค์หลากหลาย บางแบบใช้เพื่องานที่มีความเปียกชื้น จะเป็นรองเท้าที่ทำจากวัสดุยาง พลาสติก เช่นรองเท้าแตะยางสำหรับสวมเข้าห้องน้ำ บางแบบออกแบบเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเคลื่อนที่ของร่างกายเช่น รองเท้ากีฬาประเภทต่างๆ ได้แก่ รองเท้าวิ่ง รองเท้าเตะฟุตบอล รองเท้าสวมตีปิงปองฯลฯ รองเท้าเหล่านี้มักออกแบบด้วยวัสดุผ้าและยางอย่างดี เจาะรู ร้อยเชือกให้ผูก เป็นต้น การมีรองเท้าแบบต่างๆรวมทั้งแบบผูกเชือก และการเลือกรองเท้าเพื่อสวมให้เหมาะกับกาลเทศะ จึงเป็นสิ่งที่เด็กต้องฝึกทักษะให้ช่วยเหลือตนเองได้ โดยใช้อวัยวะคือ มือและตา ให้คล่องแคล่ว งานสวมรองเท้าเป็นงานที่คนเราต้องทำให้ตนเองตลอดชีวิต การที่เด็กคนหนึ่งทำหน้าที่ต่อตนอง คือ การผูกเชือกรองเท้าให้สำเร็จ เพราะมือของเด็กทำงานประสานกับสายตา พร้อมทั้งคิดถึงความสัมพันธ์ของรูรองเท้ากับการสานเชือกที่สอดเข้าไป ทำให้ช่องว่างของผืนผ้าหรือหนังของรองเท้านำไปสู่เป้า หมายคือ การผูกรัดปลายเชือกทั้งสองเส้นให้มัดรัดตรึงรองเท้า ทำให้เด็กพร้อมที่เดินย่างเท้าไปอย่างมั่นคงและปลอดภัย และการผูกเชือกให้เป็นเงื่อนเป็น ที่สามารถกระตุกออกได้อย่างง่ายดาย แสดงถึงความสามารถของสมองที่รับรู้ของข้อมูลแบบการผูกเชือกที่ถูกต้อง ไม่ใช่เงื่อนตาย ความสำเร็จจากการผูกเชือกคือเป้าหมายของทำงานของเด็ก สามารถสร้างความภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง เป็นการพัฒนาจิตของเด็กให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่อีกระดับหนึ่ง เมื่อเด็กได้มีโอกาสค้นพบความสามารถการทำงานได้ด้วยตนเอง รู้ว่าอวัยวะของเขาคือ มือ ตา และความคิดสามารถทำงานได้ มีความ สำคัญและสัมพันธ์กัน จะเป็นการรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง ที่จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าที่สุดเป็นสิ่งมนุษย์ทุกคนควรได้รับการปลูกฝัง กล่าวคือ การเจริญเติบโตของเด็กวัยแรกเกิด -2 ขวบนั้น เด็กจะเรียนรู้การใช้ประ สาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กชอบหยิบจับสิ่งต่างๆมาเข้าปากเป็นการสำรวจ และเมื่อเด็กอายุ 2-6 ปี เด็กจะพัฒนาการใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ควรให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตัวของเขา เขาจึงจะเรียนรู้ด้วยดี เพราะเด็กวัยนี้มีความเข้าใจในสิ่งที่เห็นประจักษ์ด้วยตาของเขาในเวลานั้น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4467 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4467