ร่วมกันปรับภูมิทัศน์บริเวณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดม่วงชุม (จังหวัดอุดรธานี)
ผู้จัดทำ น.ส.ชุลีพร ไขศรี
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
การจัดภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อกาเรียนรู้ของเด็ก ครุได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กจึงได้จัดการปรบปรุงภูมิทัศน์เพื่อสนองตอบต่อการจัดการเรียนรู้ของเด็กดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้สี รูปทรง สถาปัตยกรรม สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง (ไม่ใช่ครูออกแบบให้) เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ 2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน ที่ว่างๆ สำหรับรวมกลุ่มเล็ก ซุ้มไม้ โต๊ะที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม หรือปรับที่ว่างสำหรับกลุ่มให้เป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ 3. เชื่อมโยงสถานที่เรียนในห้องกับนอกห้อง บริเวณภายในห้อง-การเคลื่อนไหว กระตุ้นให้สมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์ 7. เปลี่ยนแปลงการจัดแสดงบ่อยๆ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเปลี่ยนแปลงจะกระตุ้นการทำงานของสมองโดยจัดให้มีสถานที่ที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเวที ที่จัดนิทรรศการ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ได้ง่าย 8. จัดให้มีวัสดุต่างๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่างๆของร่างกายมากมายหลากหลาย พร้อมสำหรับนำมาจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้เมื่อเกิดมีความคิดใหม่ๆ โดยให้มีลักษณะบูรณาการ ไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือให้เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่หลากหลาย ระดมความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกันและกันอย่างอุดม ครูได้นำเด็กไปปลูกต้นไม้บริเวณรอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้บริเวณศูนย์ร่มรื่น น่าอยู่ สะอาด เหมาะแก่การเรียนรู้
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4295 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4295