การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย (กิจกรรมกลางแจ้ง)
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดม่วงชุม ต.เพ็ญ (จังหวัดอุดรธานี)
ผู้จัดทำ นางสาวชุลีพร ไขศรี
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
การละเล่นพื้นบ้านของไทยเรานั้น มีด้วยกันมากมายหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคนเดียว หรือการเล่นเป็นหมู่คณะก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน การละเล่นพื้นบ้านของเรานั้น ส่วนมากจะมีเนื้อเพลงประกอบเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ควบคู่ไปกับกติกาการละเล่นพื้นบ้าน ที่น่าสนใจและติดตาม การละเล่นพื้นบ้าน เช่น การเล่น มอญซ่อนผ้า จะเป็นการเล่นกันเป็นหมู่คณะ โดยให้เด็ก ๆ มานั่งล้อมวงกัน แล้วมีคนหนึ่งถือผ้าเอาไว้ แล้วช่วยกันร้องเพลง และปรบมือตามจังหวะ ว่า มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไปโน่นไปนี่ ฉันจะตีก้นเธอ ร้องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเด็กคนที่ถือผ้าเดินรอบวงกลมจะเอาผ้าไปวางไว้ที่หลังใคร เมื่อวางผ้าเสร็จ คนที่นั่งล้อมวงก็เอามือจับที่ด้านหลัง เมื่อรู้ว่าผ้าอยู่ที่หลังของตนก็ลุกหยิบผ้านั้น วิ่งไล่ตามคนที่นำมาวาง ให้ทัน และผู้ที่นำมาผ้ามาวางต้องมานั่งแทนตำแหน่งนั้นโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะไม่ต้องเป็นมอญซ่อนผ้าอีก เรียกได้ว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนาน และยังคงมีเด็ก ๆ เล่นกันอยู่ในปัจจุบัน วิธีการเล่น รีรีข้าวสาร ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด วิธีการเล่นงูกินหาง เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา) พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา) พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา) การละเล่นพื้นบ้าน หากว่าเราอนุรักษ์เอาไว้ จะทำให้เด็กไทยรู้รัก และสามัคคีซึ่งกันและกันมาก ไม่ใช่ให้เด็กเล่นแต่เกมส์ ขาดมนุษยสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไปมากมายเช่นนี้ เรามาช่วยกันรณรงค์ให้เด็กไทยรู้จักการละเล่นพื้นบ้านไทยเอาไว้จะดีกว่า เพื่อไม่ให้การละเล่นพื้นบ้านเป็นเพียงแค่ความทรงจำ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=4167 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 4167