ปรับปรุงภูมิทัศน์
สร้างโดย บ้านโป่งสลอด (จังหวัดเพชรบุรี)
ผู้จัดทำ จิดาภา นวมนิ่ม
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน
แนวความคิดเกี่ยวกับ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” มีต้นตอจากภาพเขียนภูมิทัศน์แบบประเพณีของยุโรป [4]นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2050 เป็นต้นมา ศิลปินยุโรปหลายคนได้เขียนภาพภูมิทัศน์แบบตามใจผู้คน โดยย่อตัวคนในภาพเขียนให้เล็กลงและจัดกลุ่มให้อยู่ในภูมิทัศน์ประเภทต่างๆ ที่กว้างใหญ่ [5] คำว่า “ภูมิทัศน์” ในตัวของมันเองได้ผนวก “ภูมิ” หรือผืนแผ่นดิน ซึ่งมีต้นตอมาจากคำว่าแผ่นดินในภาษาเยอรมันกับคำกริยา "scapjan/ schaffen" ซึ่งมีความหมายว่า “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (shaped lands) [6] และในขณะนั้นถือว่าเป็นผืนแผ่นดินที่ถูกขึ้นรูปด้วยแรงธรรมชาติ และรายละเอียดของ “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (landshaffen -shaped lands) ได้กลายเป็นเนื้อหาของ “ภาพเขียนภูมิทัศน์” [5] นักภูมิศาสตร์ชื่อออตโต ชลูเทอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการในคำศัพท์ทางวิชาการของเขาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2445) [7] ในปี พ.ศ. 2451 ชลูเทอร์ได้ให้เหตุผลว่า ด้วยการนิยามภูมิศาสตร์ให้เป็น “วิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์” ย่อมเป็นเหตุผลที่ทำให้ภูมิศาสตร์กลายเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเฉพาะที่ถือได้ว่าไม่อยู่ในวิชาอื่นใด [8][7] ชลูเทอร์ได้บ่งชี้ให้เห็นรูปแบบภูมิทัศน์ 2 แบบได้แก่: “ภูมิทัศน์ธรรมชาติ” หรือภูมิทัศน์ที่มีมาก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลงมากโดยมนุษย์ และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” หรือภูมิทัศน์ที่มีรูปที่เกิดจากวัฒนธรรมของมนุษย์ งานสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ได้แก่การสืบค้นหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทั้งสองประเภทนี้ ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการแพร่หลายแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้แก่คาร์ล โอ. ซาวเออร์ นักภูมิศาสตร์มนุษย์ [9] ซาวเออร์มีความแน่วแน่ในการผลักดันหน่วยงานทางวัฒนธรรมให้มีอิทธิพลในการสร้างรูปโฉมของพื้นผิวโลกในเขตกำหนดเฉพาะ ในการให้นิยามนี้ ซาวเออร์บ่งชี้ว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพควรคงไว้ซึ่งความสำคัญที่เป็นมัชชิมหรือตัวกลางร่วมอยู่กับกิจกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์ [10] นิยามคลาสสิกของซาวเออร์มีดังนี้: “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นรูปแบบที่ปั้นแต่งมาจากภูมิทัศน์ธรรมชาติโดยกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นตัวการ (agent) ธรรมชาติเป็นตัวกลาง (medium) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมคือผลลัพธ์”
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3993 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3993