ศูนย์ปลอดโรค
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด (จังหวัดเพชรบุรี)
ผู้จัดทำ จิดาภา นวมนิ่ม
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ผัก ผลไม้ที่วางขายในท้องตลาดนั้น ตรวจพบสารเคมีตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก แม้แต่ผักที่ระบุว่าเป็น “ผักปลอดสารพิษ”วิธีการล้างผักให้สะอาดปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง มีดังนี้1. ล้างด้วยน้ำยาล้างผัก จะลดสารพิษได้ประมาณ ร้อยละ 25 2. ล้างผัก ผลไม้ แล้วแช่ในด่างทับทิมสีชมพูอ่อนๆ นาน15 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 40 3. ล้างผัก ผลไม้ โดยเปิดก๊อกน้ำไหลผ่านตลอดเวลา พร้อมทั้งถูผักผลไม้ 3-5 นาที ลดสารพิษได้ ร้อยละ 60 4. ล้างผัก ผลไม้ แล้วแช่ในน้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู 250 ซีซี : น้ำ 2 ลิตร ) แช่ไว้นาน 5 นาที จะลดสารพิษได้เกือบหมด 5. ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกที ลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 29-38 6. ใช้โซเดียมไปคาร์บอเนต (ผงฟู) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที ลดปริมาณ สารพิษได้ร้อยละ 90-95 7. ลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผัก ผลไม้ออกทิ้ง เด็ดผักเป็นใบ ๆ แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 10-15 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 8. ต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 48-50ควรที่จะมีแนวทางในการเลือกกินผัก ผลไม้ อย่างปลอดภัย ดังนี้ 1. อย่ากินผักผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำซาก เพราะจะทำให้เรามีโอกาสรับสารเคมีจากผักชนิดนั้นมากขึ้น 2. ควรกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล 3. หันไปกินผักพื้นบ้านสลับบ้าง เพราะผักพื้นบ้านไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีในการปลูก นอกจากนี้ยังให้ คุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย 4. เลือกซื้อผักปลอดสารพิษ หรือผักเกษตรอินทรีย์ (มีการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น) 5. ปลูกผักกินเองหากทำได้
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3793 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3793