โครงการ มสด. ส่งยิ้มทั่วไทย ให้ครูเล่าเรื่อง ศพด. วัดธรรมาธิปไตย
สร้างโดย วัดธรรมาธิปไตย (จังหวัดหนองคาย)
ผู้จัดทำ นางเสริม เรืองศรี
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดองค์กรโครงสร้างระบบการบริหารและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบและครบวงจร
ประวัติส่วนตัว ชื่อ นางเสริม นามสกุล เรืองศรี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดวันเสาร์ ที่ 10 เดือน เมษายน พ.ศ. 2508 ที่อยู่ 253 หมู่ที่ 1 บ้านป่งไฮ ตำบลป่งไฮอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ38150 ประวัติการทำงาน เริ่มทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งครูพี่เลี้ยง วันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ขั้นเงินเดือน 3,000 บาท ที่ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดธรรมาธิปไตย บ้านป่งไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก ขั้นเงินเดือน 5,340 บาท ค่าครองชีพ 3,660 บาท ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธรรมาธิปไตย บ้านป่งไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ พร้อมทั้งได้ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ดูแลเด็ก กรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2555 ได้ขึ้นบัญชีไว้ลำดับที่ 13 แต่รอคำสั่งบรรจุแต่งตั้งอยู่ ประวัติการศึกษา - จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบ้านป่งไฮราษฎร์สามัคคี พ.ศ. 2520 - จบชั้นมัธยมศึกษา จากการศึกษานอกระบบ จ. หนองคายพ.ศ. 2548 - จบปริญญาตรี วิชาเอกปฐมวัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต พ.ศ. 2554 “โครงการ มสด. ส่งยิ้มทั่วไทย ให้ครูเล่าเรื่อง” กิจกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำให้กับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธรรมาธิปไตย มีอยู่หลายกิจกรรมด้วยกัน แต่กิจกรรมที่ข้าพเจ้าได้เลือกมาเล่าให้ท่านรู้มี ดังนี้ การเล่นการละเล่นพื้นบ้านเช่น ม้าก้านกล้วย รีรีข้าวสาร อีมอญซ่อนผ้า เดินกะลามะพร้าว เป็นต้น ในกิจกรรมเหล่านี้ เมื่อข้าพเจ้าพาเด็กๆ เล่น พบว่าเด็กๆ สนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทุกคนต่างเล่นกันอย่างสนุกสนาน อีกทั้งยังได้ประสบการณ์ในด้านการประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้าน คือข้าพเจ้าได้นิมนต์พระในวัดมาสอนวิธีการทำม้าก้านกล้วยให้เด็กๆ ดู และให้เด็กได้ลองทำม้าก้านกล้วยเล่นเองโดยอยู่ในความดูแลของข้าพเจ้า จากกิจกรรมนี้ ทำให้เด็กมีความรักในการมีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น 100% การฝึกความมีวินัย ความอดทนโดยการให้เด็กๆ ถอดรองเท้าเก็บเข้าชั้นวางรองเท้าก่อนเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง ฝึกระเบียบแถว ซ้ายหัน ขวาหัน การศึกษานอกสถานที่เช่น การพาไปดูเกษตรกรทำนา ปลูกผักสวนครัว ปลูกปาล์ม ว่าถ้าทำจะมีวิธีการทำอย่างไร ขั้นตอนมีอะไรบ้าง ทำแล้วผลที่ได้รับเป็นอย่างไร ผลกระทบเป็นอย่างไร ยามที่เกิดปัญหาระหว่างการทำเกษตรแก้ไขอย่างไร การปลูกผักสวนครัวดีอย่างไร ช่วยประหยัดรายจ่ายครอบครัวของเด็กๆ พร้อมกับพาไปดูคุณยายทอผ้า ว่าผ้าที่เด็กใช้ห่ม ใช้ปูนอนทำอย่างไรถึงจะได้มา จากกิจกรรมนี้ ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ และรู้คุณค่าทรัพยากรในท้องถิ่น 100% การทำข้าวต้มมัดข้าพเจ้าได้พาคุณยายที่อาศัยอยู่ละแวกบ้านมาสอนเด็กๆ ทำข้าวต้มมัด ขณะที่ทำข้าพเจ้าก็อธิบายให้เด็กฟังด้วยว่า ข้าวต้มมัดมีประวัติความเป็นมาอย่างไร วัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำมีอะไรบ้าง จากกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีความรู้ ทักษะในเรื่องการทำข้าวต้มมัด 100% การแยกขวดน้ำดื่ม Recycle เป็นจรวด ก่อนที่จะได้จรวด Recycle มานั้น ข้าพเจ้าและเด็กแยกขวดแต่ละประเภทออกจากกันเป็นกลุ่ม แต่ประเภทขวดที่เราจะนำมาทำจรวด คือ ขวดพลาสติก ส่วนขวดที่เหลือข้าพเจ้ากับเด็กเอาไปขาย เพื่อนำเงินมาซื้อขนมให้เด็กกิน เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดความคิดคิดที่จะเก็บขวดน้ำที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะที่บ้าน หรือที่อื่นมาใช้ประโยชน์ หรือขายหารายได้ช่วยครอบครัว ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงรายได้น้อยๆ ของเด็ก แต่เด็กก็มีความสุข และภูมิใจที่ได้ทำ การระบายสีสีที่ข้าพเจ้านำมาให้เด็กใช้ระบายนั้น ทำมาจากดอกไม้ ต้นไม้ใบหญ้าที่ปลูก มาคั้นเอาสีโดยการผสมน้ำกับดอกไม้ที่มีสีตามที่เราต้องการ เช่น สีแดง ดอกเฟื่องฟ้า , สีเหลือง ขมิ้น , สีม่วง ดอกอัญชัน , สีเขียว ใบเตย เป็นต้น หลังจากที่ได้สีตามที่ต้องการแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ไปตัดเอาก้านกล้วยมาตัดเป็นท่อนๆ ให้เด็กนำไปใช้จุ่มสีแทนพู่กันวาด ระบายสีบนกระดาษ ส่วนต้นไม้ใบหญ้าก็นำมาตัดแปะเป็นรูปต่างๆ ตามจินตนาการของเด็ก
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3723 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3723