นิทานพาเพลิน
สร้างโดย ศพด.บ่านตาเอ็ม (จังหวัดอุบลราชธานี)
ผู้จัดทำ นางสาวลักษิกา พงษ์กิ่ง
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ดิฉันนางสาวลักษิกา พงษ์กิ่ง ตำแหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย สังกัด ส่วนการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเอ็ม จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา นอกจากจะส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน แล้ว ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเอ็ม ยังเน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต และการจัดเรียงลำดับก่อนหลัง ซึ่งในการจัดกิจกรรมของตัวดิฉันเองจะนำเอานิทานมาสอดแทรกกับกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนในจากตัวเด็ก และนิทานที่เด็กๆสนใจมาที่สุด เวลาเล่าแล้วต้องมีสื่อประกอบ หรือเรียกว่าตัวละคร เด็กๆจะสนุกสนานและเพลิดเพลิน นิทานที่มีตัวละครแล้วเด็กสนใจ คือเรื่องยายเช้าปากกว้าง เพราะตัวละครนี้จะประกอบไปด้วยคำว่า ตั๊กแตน นก หมา เสือ ช้าง และน้ำ ซึ่งตัวประกอบละครจะเป็นชื่อสัตว์ที่เด็กๆเคยรู้จักและเคยเจออยู่แล้วทำให้จำได้ง่ายที่สุด และเวลาที่ดิฉันเล่าและหย่อนสัตว์แต่ละตัวเข้าไปในปากของยายเช้า เด็กๆจะรอลุ้น และตื่นเต้นกับเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำให้นิทานที่เล่ามีชีวิตชีวาและดึงความสนใจเด็กได้มาขึ้นจนเด็กๆอยากที่จะลองทำกิจกรรมด้วยตัวเด็กเอง ซึ่งจากประสบการณ์ดิฉันเห็นว่าการเล่านิทานเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษา และทักษะการฟัง คือการบรรยายสิ่งที่เด็กกำลังสนใจ ช่วยเติมสิ่งเด็กกำลังพูดให้เด็กหัดตอบคำถามง่ายๆ และการอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟังพูดกับเด็กสั้นๆ ช้าๆ ซ้ำๆ ใช้คำพูดที่ไพเราะ ให้กำลังใจ ไม่ห้ามพร่ำเพรื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก แต่ในขณะเดียวกันการเล่านิทานของดิฉันภายในศูนย์ฯยังขาดทุนทรัพย์ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ เป็นการดึงดูดความสนใจจากตัวเด็ก ทำให้การเล่านิทานบ้างเรื่อง ขาดตัวละครประกอบ หรือไม่ก็มีน้อยไม่เพียงพอต่อการทดลองเล่นของเด็กๆ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3714 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3714