ภูมิปัญญาท้องถิ่น (การสานปลาตะเพียน)
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังน้ำเขียว (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
ผู้จัดทำ นางรัตนา ดวงแก้ว
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีจำนวนผู้เรียนและอายุตามเกณฑ์
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งดีงาม มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ถ้าไม่มีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ในหมู่เด็ก และเยาวชน สิ่งที่ดีงามเหล้านี้คงจะค่อยๆ จางหายไปจากชุมชน และท้องถิ่นนั้นๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังน้ำเขียว ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในท้องถิ่น โดยเชิญวิทยากรภายนอกซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้ตามสาขาวิชาที่สอดคล้องต่อการพัฒนาประสบการณ์ รวมทั้งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเด็กเห็นสภาพความเป็นจริงของท้องถิ่น จะได้เกิดความเพลิดเพลิน เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดความภูมิใจในบ้านเกิดของตน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังน้ำเขียว ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านเราเพื่อให้เด็กนักเรียนมีเจนคติที่ดีต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรักในท้องถิ่นของตนเองเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในท้องถิ่นบ้านเรา คือ การสานปลาตะเพียนจากใบจาก และใบมะพร้าว ใบมะพร้าวเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่พบเห็น และหาได้ง่ายในท้องถิ่นบ้านเรา ส่วนใบจากนั้นค่อนข้างมีอยู่น้อย และหาได้ยาก เด็ก ๆ ก็ได้รู้จักใบจากว่ามีสีและรูปร่างลักษณะคล้ายกับในมะพร้าวแต่จะมีกลิ่นหอมนิดหนึ่ง และค่อนข้างจะแข็งแรงกว่า และใช้ในการสานปลาตะเพียนง่ายกว่า การสานปลาตะเพียนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่อดีต แต่ปัจจุบันค่อนข้างหลงเหลืออยู่น้อยมาก เพราะฉะนั้นเราควรอนุรักษ์และส่งเสริมให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จัก เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านเราต่อไป จากกิจกรรมนี้ครูได้เชิญวิทยากรจากชุมชน หรือท้องถิ่นมาให้ความรู้เรื่องการสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าว เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง โดยการสานปลาตะเพียนเอง เด็ก ๆ สนใจและสนุกกับการสานปลาตะเพียน ที่สำคัญเด็กเกิดความภาคภูมิใจในฝีมือ และผลงานตนเอง ถึงแม้จะไม่สวยนักแต่ผลงานนี้ก็มีคุณค่าทางจิตใจของเด็กเอง เด็กได้เรียนรู้ว่าการสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าวสามารถนำมาเป็นโมบายปลาตะเพียน และนำมาเป็นของเล่นได้อีกด้วย เด็ก ๆ นำปลาตะเพียนกลับบ้านคนละ 2 ตัว เพื่อนำกลับไปฝากพ่อ แม่ และผู้ปกครองด้วย กิจกรรมการสานปลาตะเพียนนี้นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านเราแล้วยังส่งเสริมการใช้วัสดุที่มีอยู่ตามท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ และสร้างเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้อีกด้วย และในอนาคตสามารถนำมาดัดแปลงเป็นสินค้า OTOP เพื่อนำเป็นสินค้าส่งออกให้แก่ประเทศเพื่อบ้านได้รู้จักและเห็นฝีมือของคนไทยด้วย
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3655 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3655