เล่านิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมละจริยธรรม

สร้างโดย ศูนย์เชาวน์วัศ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

ผู้จัดทำ นางสาวอลิสา ดีอารมย์

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



             ข้าพเจ้านางสาวอลิสา ดีอารมย์ อายุ 32 ปี นักศึกษาโครงการ รมป.ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รุ่น 6/1 ทำงานอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลคานหาม(ศูนย์เชาวน์วัศ)ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 13210 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 3 ปี ในตำแหน่ง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก นักเรียนปีการศึกษา 2555 มีนักเรียนทั้งหมด 63 คน มีบุคลากรทั้งหมด 5 คน ศูนย์เชาวน์วัศได้เป็น "ศูนย์ 3 วัย เทิดไท้องค์ราชัน" ซึ่งมีการจัดกิจกรรมที่ให้บุคคลทั้ง 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ มามีส่วนร่วม ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเชาวน์วัศจึงได้จัดกิจกรรมเล่านิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมขึ้น เนื่องจากการวิจัยทางการแพทย์พบว่า เด็กจะมีการเจริญเติบโตของเซลล์สมองมากที่สุดในช่วงวัย 0-6 ปี การจะสร้างเด็กที่เป็นเลิศเราจึงต้องเริ่มพัฒนาเด็กในวัยนี้ เซลล์สมองจะพัฒนามากขึ้นและแตกแขนงออกไป ก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ได้เรียนรู้และฝึกใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยเฉพาะทางตาและทางหู ยิ่งเมื่อเซลล์สมองได้รับการกระตุ้นมากเท่าไร เส้นใยสมองก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นสายใยมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งเส้นใยสมองเพิ่มขึ้นมาก เด็กก็ยิ่งฉลาดมาก การเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่น เมื่อครู พ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ เช่น หู ตา และหากพ่อแม่ให้เด็กนั่งบนตัก เด็กจะได้รับความอบอุ่นจากการสัมผัส หากพ่อแม่กระตุ้นเด็กบ่อยเพียงไร เด็กก็ยิ่งจะเพิ่มความรักและจะซึมซับเอานิทานหรือเรื่องเล่าจากหนังสือ การเล่านิทานอ่านหนังสือ พ่อแม่สามารถทำให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง หรือต้องพึ่งพาโรงเรียนอนุบาลราคาแพง เพียงแต่พ่อแม่เอาเด็กนั่งบนตัก และอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ให้เด็กฟัง สมองของเด็กในช่วงนี้จะเป็นเสมือนผ้าขาว หากใส่อะไรลงไปก็จะเกิดการซึมซับได้อย่างรวดเร็ว การเล่านิทานอ่านหนังสือ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาสมองของเด็ก โดยผู้ใหญ่สามารถกระทำได้เพียงอาศัยช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน อ่านหนังสือหรือเล่านิทานด้วยคำพูดของเราเองด้วยภาษาที่ดีจากหนังสือภาพ เด็กก็จะรับรู้ภาษาและความรู้สึกผ่านการออกเสียงของครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง โดยเฉพาะเด็กที่ต้องอยู่กับผู้ปกครองซึ่งไม่ใช่พ่อแม่ ผู้ใหญ่ยิ่งจะต้องเอาใจใส่ให้มาก เพราะเด็กเหล่านี้จะต้องการความรักและความเอาใจใส่มากกว่าเด็กที่มีพ่อแม่ดูแล การจัดกิจกรรมเริ่มต้นที่โรงเรียนก่อน ครูมีการเล่านิทานให้นักเรียนฟังซึ่งใน 1 สัปดาห์ครูจะเล่านิทาน 1 เรื่องฟังทุกวัน และเรื่องที่เล่าจะตรงกับหน่วยการเรียนการสอน การเล่านิทานของครูจะต้องทำน้ำเสียงให้มีความตื่นเต้นมีการผ่อนหนักเบาออกลีลาท่าทางให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นต่อเนื้อหาที่กำลังฟัง หรือมีหุ่นมือประกอบการเล่า หรือมีการวาดภาพตามเนื้อเรื่องที่ หรือเปิดอินเตอร์เน็ตนิทานต่างๆที่เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กๆ มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น และตั้งใจฟังนิทานเป็นอย่างดี ถ้าเด็กๆ กำลังนอนพักผ่อนกลางวันครูจะเปิดแผ่น นิทานCDให้เด็กๆฟัง และก่อนกลับบ้านจะเปิดแผ่นนิทาน VCD ให้เด็กๆ ดู นอกจากนั้นมีการเชิญผู้ปกครองทุกเพศทุกวัยมาเล่านิทานให้เด็ฏๆ ฟังที่โรงเรียน และครูมีการจัดกิจกรรมบันทึกรักการฟังนิทาน ให้ผู้ปกครองเล่านิทานให้บุตรหลานฟังที่บ้าน เมื่อเล่านิทานเสร็จให้ผู้ปกครองบันทึกพฤติกรรมของเด็กว่าเป็นอย่างไร การเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังนอกจากเด็กๆ จะได้รับความสนุกสนานกับการฟังนิทานแล้ว ยังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาที่ถูกต้องให้กับนักเรียน พัฒนาสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการรับผิดชอบแก่นักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนนำเนื้อหาสาระที่ได้ฟังจากนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมความมีคุณธรรม และจริยธรรม ในตัวผู้เรียนจากการฟังนิทาน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3632 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3632