การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี)
ผู้จัดทำ นางสาวสมฤดี เข็มศรี
ประเภทตัวชี้วัด : หัวหน้าสถานศึกษา มีคุณธรรมจริยธรรมมีภาวะผู้นําและมีความสามารถในการบริหารจัดการ
อาหาร คือ สิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมอง เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะดูดซิม แล้วนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่างกายเด็กเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่จึงให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้กับวัย การจัดการด้านโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย คุณครู แม่ครัว คณะกรรมการและผู้ปกครอง ประชุมร่วมกันในการจัดทำเมนูอาหารสำหรับเด็ก 1. เด็กต้องได้สารอาหารครบห้าหมู่ ๒.เน้นผักสีเขียว สีเหลือง(ฟักทอง) สีส้ม(แครอท) ๓.หั่นผักเป็นลูกเต๋า ๔ แม่ครัวต้องจัดเมนูอาหารทะเล ( ปลาทู กุ้ง ปลาหมึก ) อย่างน้อย ๑ วัน/สัปดาห์ ๕.แม่ครัวต้องจัดเมนูอาหารเครื่องในสัตว์อย่างน้อย ๑ วัน/สัปดาห์ ๖.ต้องมีน้ำซุปกระดูกหมูหรือไก่ เช่นข้าวผัดและน้ำซุป ๗.เน้นผลไม้ตามฤดูกาลเป็นอาหารว่างเด็ก ๘.ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัด มันจัด และเค็มจัด ๙.ควรฝึกเด็กกินผัก ผลไม้จนเป็นนิสัย ๑๐.เน้นความสะอาด ปลอดภัยในการบริโภค ๑๑.การใช้โปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุแรกเกิด - ๑๘ ปี (โภชนาการดีที่ดีดูได้จากส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุลและอยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต) ทุกๆวันเวลา ๑๑.๐๐ เป็นเวลาทานอาหารกลางวันเด็ก ก่อนจะรับประทานอาหารเด็กต้องโมทนา ขอบคุณข้าว และครูอธิบายอาหารและผลไม้มีประโยชน์คุณค่าทางโภชนาการอย่างไร การสร้างนิสัยการกินที่ดีแก่เด็ก จะช่วยทำให้เด็กมีพฤติกรรมการกินที่ดีค่ะ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3605 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3605