พิธีกรรมทำบุญกลางแจ้ง
สร้างโดย ศพด.โรงเรียนวัดวังกุ่ม (จังหวัดสุพรรณบุรี)
ผู้จัดทำ ครูพิม
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมมีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานทีรับผิดชอบ
การทำบุญกลางแจ้ง เป็นการทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ในที่โล่งแจ้ง เช่น กลางทุ่งนา กลางลานข้าว หรือตามทางแยก ที่โบราณเรียกว่า "ทางสามแพร่ง" จุดประสงค์ของการทำบุญกลางแจ้งก็เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับวิญญาณเร่ร่อน หรือที่เรียนกว่า "สัมพเวสี" ผีไร้ญาติต่าง ๆ ที่ล่องลอยอยู่ในบริเวณนั้น ในปีนี้ที่หมู่บ้านของครูพิมพ์ได้ฟื้นฟูประเพณีทำบุญกลางแจ้งขึ้นมาปีนี้เป็นปีแรก จึงขอเล่าสู่กันฟังถึงขั้นตอนของพิธีกรรม และความสามัคคีของชาวบ้านดังนี้จ้า ก่อนการทำบุญกลางแจ้งชาวบ้านในหมู่บ้านละแวกนั้นจะนัดหมายวันเวลากันว่าจะทำบุญโดยใช้สถานที่ใด และแบ่งหน้าที่กันจัดเตรียมสถานที่ตรงที่จะจัดเลี้ยงพระ เตรียมภาชนะ เช่น ถ้วย ชาม ช้อน หม้อ โต๊ะ เก้าอี้ เสื่อสาด อาสนะ โต๊ะหมู่บูชา แล้วนำมาทำความสะอาดเตรียมไว้ รุ่งเช้าก็หิ้วปิ่นโตใส่อาหารคาวหวานมากันคนละเถา ช่วยกันตักอาหารสำหรับพระ และเตรียมไว้ไหว้สัมพเวสี 1 ชุดด้วย การทำบุญกลางแจ้ง มักจะเลี้ยงพระเช้า เพราะพระต้องนั่งฉันภัตตาหาร "กลางแจ้ง" ถ้าฉันเพล แดดร้อนพระท่านจะฉันลำบาก การทำบุญในครั้งนี้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ได้บุญกันทั่วหน้า คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3580 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3580