ภูมิปัญญาท้องถิ่น"ขันหมากเบ็ง"
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี)
ผู้จัดทำ นางจันทร์เพ็ญ บุญเจริญ
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนรู้ภูมิปัญญาให้เด็กปฐมวัย ภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดประมวลผล ความเป็นวัฒนธรรม แบ่งปัน เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ชุมชนภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ ได้จัดการสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้านทุ่งแร่โดย นางนาง คนยังและกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นผู้ชำนาญการในการจัดทำ“ ขันหมากเบ็ง ”ควรที่จะมีการสืบทอดจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานโดยนำมาประยุกต์กับศิลปะยุคใหม่ให้เกิดความประณีตสวยงาม อ่อนช้อย ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์ คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสงกรานต์ ขันหมากเบ็ง คือพานพุ่มใส่ดอกไม้ หรือเครื่องบูชา 5 อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ 5 คู่ ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) – บายศรี ใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุมรวมทั้งตรงกลางเป็น 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สูง 6- 8 นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง 5 อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว ไว้บนยอดแหลมของบายศรี-กรวย-ซวย เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับเพื่อความสวยงาม ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว(ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) ดังนั้น การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง จึงเสมือนการกราบด้วยเบ็ญจางคประดิษฐ์ เป็นเครื่องเบ็ญจขันธ์ อาจจะกล่าวโดยสรุปด้วยได้ว่า “ การบายศรีสู่ขวัญ ” และการสักการบูชาด้วย “ ขันหมากเบ็ง ” ชาวอีสานได้ยึดถือเป็นประเพณี และปฏิบัติสืบเนื่องมาตลอดถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาวอีสาน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3550 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3550