พัฒนาเด็กปฐมวัยทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
สร้างโดย ศรีไพร (จังหวัดตาก)
ผู้จัดทำ ศรีไพร จันทร์ฟู
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดองค์กรโครงสร้างระบบการบริหารและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบและครบวงจร
นักเรียนอนุบาลบ้านทุ่งมะขามป้อม ม. 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 63140 ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยรวมทั้ง 6 ด้าน การจัดกิจกรรมและตารางกิจกรรมประจำวัน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษาจะไม่จัดเป็นรายวิชาแต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน อาจใช้ชื่อเรียกกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน แต่ทั้งนี้ประสบการณ์ที่จัดจะต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญ 9 ประการ ตามหลักสูตรและควรยืดหยุ่นตามเนื้อหาที่เด็กสนใจหรือที่ครูมีส่วนริเริ่มกำหนดให้ เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์สำคัญ และทำกิจกรรมในแต่ละหัวข้อเนื้อหาและเด็กควรจะเกิดแนวคิดตามที่ได้เสนอแนะไว้ในหลักสูตรดังนั้นการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา 1. กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติศึกษา มุมบ้าน มุมร้านค้า เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มย่อย อนึ่ง กิจกรรมเสรี นอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กเลือกกิจกรรมที่ครูจัดเสริมขึ้น เช่นเกมการศึกษา เครื่องเล่นสัมผัส กิจกรรมสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ 2. กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก- ตัด – ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดารปักหมุด ฯลฯ 3. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง และอุปกรณ์อื่น ๆ มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะและควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเอง 4. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไว้ ดังนี้ (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2547 : 62) กล่าวว่า กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งให้เด็กได้มีโอกาสฟังและพูด สังเกต คิด แก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ 5. กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระโดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรจัดให้เด็กได้เล่น เช่น การเล่นเครื่องเล่นสาม การเล่นทราย การเล่นน้ำ การเล่นสมมุติ การเล่นมุมช่างไม้ การเล่นเกมการละเล่น 6. เกมการศึกษา เกมการศึกษาเป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่ ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก วัย 3-6 ปี เช่นการจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3320 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3320