ส่งเสริมพัฒนาการด้วยวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการจำแนกสีของเด็กปฐมวัย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเนินมะคึก องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข อ.เมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก (จังหวัดพิษณุโลก)

ผู้จัดทำ นางสาวศักดิ์ศรี ภู่แส

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย



            การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ในชีวิตประจำวันผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 รู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส จดจำเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว มีการฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ในการแยกแยะสิ่งที่รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับความเหมือน ความแตกต่าง และมติสัมพันธ์ การเรียนรู้เรื่องการจำแนกสีของเด็กปฐมวัย ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เพื่อเด็กจะได้รู้จัก เข้าใจและสามารถจำแนกสีต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยการใช้ประสาทสัมผัสทางตา สังเกตวัตถุหรือสิ่งของที่มีสีสันแตกต่างกัน การเรียนรู้เรื่องการจำแนกสีของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมประกอบอุปกรณ์ ในการจัดการเรียนการสอนพบว่าเด็กไม่สามารถบอกและจำแนกสีได้ถูกต้อง จึงคิดแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการจำแนกสีของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมประกอบอุปกรณ์ ถือเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ นำมาส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา สอดคล้องกับการประเมินพัฒนาการ อนามัย 49 เด็กอายุ 3 ปี ขึ้นไปต้องรู้จักสี และที่สำคัญเป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยในระดับชั้นอนุบาล วิจัยในชั้นเรียนเรื่องนี้ได้จัดกิจกรรมการส่งเสริมในปีการศึกษา 2554 ผลการวิจัยเด็กมีความก้าวหน้าหลังจากจัดกิจกรรมตามแผน เด็กสามารถรู้จักสีได้มากกว่า 1 สี และสามารถจำแนกสีได้

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3251 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3251