โปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต (โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย)

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวสมฤดี เข็มศรี

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านสุขอนามัยเด็กและสุขาภิบาลของสถานศึกษา



            การใช้โปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุแรกเกิด-18ปี จัดทำเพื่อบันทึกข้อมูลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ ประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยแปลผลการเจริญเติบโตเป็นรายคน และแสดงผลการเจริญเติบโตทั้ง 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูลตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ในรูปกราฟการเจริญเติบโต มีการจุดน้ำหนักส่วนสูงบนกราฟการเจริญเติบโตเพื่อแสดงแนวโน้มการเจริญเติบโตพร้อมทั้งคำอธิบายภาวะและแนวโน้มการเจริญเติบโต มีคำแนะนำการบริโภคอาหารตามภาวการณ์เจริญเติบโต แสดงชนิดและปริมาณอาหารทดแทนในแต่ละกลุ่มอาหารพร้อมรูปภาพอาหาร สามารถเลือกแสดงรายชื่อเด็กตามภาวการณ์เจริญเติบโตเพื่อใช้ในการติดตาม สามารถรวบรวมข้อมูลภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็ก โดยแสดงผลในรูปของจำนวนและร้อยละของภาวการณ์เจริญเติบโตในภาพรวมในระดับศูนย์เด็ก ซึ่งโปรแกรมนี้จะรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ได้รายงานข้อมุลแสดงลักษณะการเจริญเติบโตของเด็ก งวดที่4(กรกฎาคม-กันยายน)ปีงบประมาณ2555เด็กนักเรียนทุ่งแร่ 45 คน สรุปเด็กที่มีการเจริญเติบโตดี(สมส่วน) จำนวน 38 คนคิดเป็นร้อยละ84.44ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างท้วม จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ4.44ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างเริ่มอ้วน จำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ8.89ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างอ้วน จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อยละ2.22ของทั้งหมด งวดที่1(ตุลาคม - ธันวาคม) ปีงบประมาณ2556เด็กนักเรียนทุ่งแร่ 45 คน สรุปเด็กที่มีการเจริญเติบโตดี(สมส่วน) จำนวน 40 คนคิดเป็นร้อยละ88.89ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างท้วม จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อยละ2.22ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างเริ่มอ้วน จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ4.44ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างอ้วน จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ4.44ของทั้งหมด งวดที่4(กรกฎาคม-กันยายน)ปีงบประมาณ2555เด็กนักเรียนทุ่งแร่ 45 คน สรุปเด็กที่มีการเจริญเติบโตดี(สมส่วน) จำนวน 41 คนคิดเป็นร้อยละ91.11ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างท้วม จำนวน - คนคิดเป็นร้อยละ - ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างเริ่มอ้วน จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ6.67ของทั้งหมด เด็กที่มีรูปร่างอ้วน จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อยละ2.22ของทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้จากโปรแกรมนี้1.แจ้งพ่อแม่ผู้ปกครองทราบถึงผลการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยเฉพาะแนวโน้มการเจริญเติบโต2.สื่อสารชุมชนไดัรับทราบถึงผลการเจริญเติบโต เพื่อกำหนดมาตรการทางสังคม การเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม3.หน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับโปรแกรมนี้ เพื่อใช้กำหนดนโยบาย วางแผน และดำเนินการส่งเสริมการเจริญเติบโต ป้องกัน และแก้ปัญหาทุพโภชนาการ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3096 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3096