ศึกษาดูงาน โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ (Good Practices)

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวสมฤดี เข็มศรี

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย



            โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น "ศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ" ในปีการศึกษา ๒๕๔๘ วิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practices)หลักสูตรที่โรงเรียนทุ่งมหาเมฆเป็นหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่อยู่บนพื้นฐานของการให้ความรัก ควาามอบอุ่นแก่เด็ก เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างบ้านโรงเรียนและชุมชน ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อให้เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น มีความสนใจใฝ่รู้และพัฒนาตนเอง มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพและความเหมาะสมกับวัยมีคุณธรรม จริยธรรม การออกแบบการจัดประสบการณ์ตามนวัตกรรมของโรงเรียนที่เหมาะสมกับเด็ก ๑.การจัดประสบการณ์แบบหน่วยการเรียนรู้ อนุบาล ๓ ขวบ จำนวน 22 หน่วยต่อปี สำหรับอนุบาล๑-๒ จำนวน ๒๐ หน่วยต่อปี ๒.การจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน สังเกตุความสนใจของเด็กแล้วเลือกวรรณกรรมที่เด็กสนใจเป็นหลักในการจัดประสบการณ์ (ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เช่น โครงการพ่อจ๋าแม่จ๋าหนูอยากฟังนิทาน) ๓.การจัดประสบการณ์แบบโครงงาน เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้ศึกษาในเรื่องที่สนใจ ช่วยให้เด็กบรูณาการความรู้ พัฒนาให้เด็กมีแรงใจ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แก้ปัญหา พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สนับสนุนทักษะการคิดและค้นคว้าหาคำตอบ โดยการสอนแบบภาษาธรรมชาติ กิจกรรมสนทนาข่าวและเหตุการณ์ เป็นกิจกรรมที่เด็กและครูได้สนทนาร่วมกันในช่วงเช้า และกิจกรรมอ่านออกเสียง(Story Time) บทบาทสมมติ เรียงลำดับเรื่่องราว การศึกษาดูงานไปประยุกต์หรือปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งแร่คือจากการสังเกตุห้องอนุบาลโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ การตกแต่งบอร์ดจะใช้ผลงานเด็ก ๘0 เปอร์เซนต์ผลงานครู ๒๐ เปอร์เซนต์ กิจกรรมสร้างสรรค์และเสรีหลากหลาย เด็กใช้ทักษะการคิดวิเคราะและจินตนาการ เด็กเกิดความภาคภูมิใจมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ให้ความสำคัญการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนและที่สำคัญการจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(Best Practice)ระดับปฐมวัย"ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และการจัดประสบการณ์แบบโครงงานโดยบูรณาการการสอนแบบธรรมชาติ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3084 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3084