นวัตกรรมสำหรับครูปฐมวัย "กังหันมหาสนุก"

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสวนหม่อน (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางวิไล ผดุงตาล (ครูติ๊ก)

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย



            การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าทุกฝ่ายเข้าใจ ให้ความ สำคัญและให้การสนับสนุน แต่ยังมีหลายคน หลายโรงเรียนที่ยังเข้าใจการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยผิด เพราะการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยไม่ใช่จับเด็กมาเขียนมาอ่านอย่างจริงจังเหมือนกับเด็กประถม เด็กมัธยม เพราะนั่นคือการทำร้ายพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก และสร้างความเครียดอย่างคาดไม่ถึง โดยผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจผิด และมีค่านิยมที่ผิดๆ ที่ต้องการให้เด็ก หรือลูก หลานของตนต้องอ่านออก เขียนได้ตั้งแต่วัยอนุบาล โดยมีการเรียนพิเศษ มีการบ้าน มีแบบฝึกหัดเป็นเล่มๆ ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมของเด็กเลยว่าเด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเป็นอย่างไร เด็กมีการใช้มือ ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กได้ดีแล้วหรือยังที่บังคับให้เขาจับดินสอเขียนตามที่ผู้ใหญ่กำหนด ซึ่ง เด็กบางคนยังหยิบจับอะไรได้ไม่ดีเลย และฝึกให้เด็กท่อง อ่าน คำศัพท์ ตัวเลข โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาท่องเขารู้ความหมายหรือเปล่า บางโรงเรียนจับให้เด็กนั่งเรียนอย่างจริงจัง หน้าติดกับสมุดแบบฝึกหัด มือจับดินสออยู่ตลอดเวลา เด็กไม่มีโอกาสได้เล่น ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหรือผู้อื่น ไม่มีโอกาสได้คิด และแสดงความคิดอย่างอิสระเลย แต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครองก็ดีใจ ภูมิใจว่าลูกของตนอ่านออกเขียนได้แต่ไม่รู้เลยว่ากำลังทำลายพัฒนาการต่างๆของเด็ก ดังทฤษฎีของ เพียเจต์ (Piaget) (อ้างในทิศนา แขมมณี,2545) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของ เพียเจต์ (Piaget) ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์ (Piaget) เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์ (Piaget) สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นครูผู้สอนหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ เราจึงพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กโดยให้เด็กได้มีทักษะในกระบวนการสังเกต การคิด และแก้ไขปัญหา โดยคณะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสวนหม่อนจึงได้นำกังหันมหาสนุกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัยสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สัปดาห์ที่ ๓๕ สาระการจัดประสบการณ์ที่ ๔ เรื่องสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก หน่วยการจัดประสบการณ์ เดินทางทั่วไทย ซึ่งมี ๓ ทาง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เด็กๆถามคุณครูว่าทำไหมใบพัดเครื่องบินจึงหมุนได้คุณครูจึงคิดค้นนวัตกรรมซึ่งนำวัสดุที่หาได้ง่ายมาประดิษฐ์เป็นกังหันมหาสนุกให้เด็กๆได้ทดลองและส่งเสริมให้เด็กๆมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการ มีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อเล็กและมีทักษะในกระบวนการคิด การสังเกตว่าทำอย่างไรกังหันจึงจะหมุนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน และเหมาะสมกับวัย อ่านเรา " อยากจะบอกว่าสื่อที่ครูผลิตให้เด็กๆทุกชิ้นมีค่าสำหรับเด็กๆของเรามากค่ะ " หวังว่าสื่อนี้คงเป็นสื่อที่ได้รอยยิ้มจากเด็กเด็กทั่วไทยและเพื่อนๆร่วมวิชาชีพเช่นกันค่ะ ขอขอบคุณค่ะ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=3005 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 3005