ทรรศนศึกษาสวนผึ้ง

สร้างโดย โรงเรียนวัดดอนยายหนู (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)

ผู้จัดทำ นางสาวอโนทัย สองเมือง

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



             เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีการพัฒนาการเรียนรู้สูง โดยการแสวงหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่รอบตัว ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เป็นช่วงวัยที่เหมาะต่อการปูพื้นฐาน โดยการปลูกฝังคุณลักษณะต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตที่ดี มีความพร้อมและ พัฒนาการทุกด้าน ตามขีดความสามารถของเด็ก กิจกรรมทัศนศึกษานี้จัดขึ้นเพื่อมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ คำนึงถึงความสนใจ ของเด็กเป็นสำคัญ เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยครูมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เด็ก เกิดความพอใจและภูมิใจในการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติตามความสามารถของตนได้อย่างอิสระ ก่อให้เกิด ความพึงพอใจและสนุกสนานในการทำกิจกรรม ทัศนศึกษาหรือการศึกษานอกสถานที่ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ครูจัดให้กับเด็กเพื่อเพิ่มพูนความรู้และด้วยประสบการณ์ตรงจากแหล่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นสถานที่จริง ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า จากการสังเกต การสำรวจ การทดลอง การปฏิบัติจริง และเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยบูรณาการทักษะหลายด้านเข้าด้วยกัน พร้อมกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้กับเด็กปฐมวัย ควรเป็นกิจกรรมที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรง จากการได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ผ่านการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้ การได้สังเกต สำรวจ ทดลอง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีความสำคัญ ดังนี้ • การพาเด็กไปศึกษานอกสถานที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการนี้ทำให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และเป็นการเรียนที่มีความ หมายและมีคุณค่าต่อเด็ก ซึ่งหากสังเกตพฤติกรรมของเด็กอนุบาลจากการพาเด็กออกไปนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นการที่มุ่ง เน้นด้านวิชาการ หรือเพื่อนันทนาการ จะพบว่าเด็กมีความสนใจ กระตือรือร้นและอยากเข้าร่วมกิจกรรม และสามารถจดจำสิ่งที่พบเห็นได้ดี เพราะการพาเด็กไปศึกษานอกสถานที่เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ และสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ดังที่ Jean-Jacques Rousseau, Jean Piaget และ John Dewey ต่างมีแนว คิดที่สอดคล้องกันว่า เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือปฏิบัติ ทดลอง สำรวจ ค้นคว้า และพบความรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ที่เขาได้ปฏิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนั้น การจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยจึงต้องคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ระบุว่า “แนวทางการจัดการศึกษา ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนทุกคนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องเสริมสร้างให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องยึดหลักความสอดคล้อง ความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมที่ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และให้รู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและใฝ่รู้ ผสมผสานความรู้อย่างสมดุล ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วยการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม สื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และต่อการเรียนรู้ รอบรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ จากการประสานความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามศักยภาพ”

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2937 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2937