กิจกรรมร่วมสร้างรอยยิ้ม
สร้างโดย ศพด.บ้านดอนกลาง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
ผู้จัดทำ นางพนิดา ขวัญสกุล รหัส 543041321042
ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนว่าทุกคนมีความรู้ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ข้าพเจ้า ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ดังนั้น ได้จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแนวทางในทางพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ การเรียนรู้จากการสังเกต การส่งเสริมความจำ การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การใช้หลักพื้นฐานสู่เหตุการณ์เฉพาะ การจับคู่ การเรียงลำดับ การจัดแบบความสัมพันธ์ การคาดคะเน การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการใช้ประสาทสัมผัสผ่านสาระการเรียนรู้ที่เด็กคุ้นเคยรอบตัว เป็นสิ่งสำคัญคือการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้เต็มศักยภาพ ทั้ง ๔ ด้าน คือ - ด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ (กล้ามเนื้อแขน-ขา-ลำตัว )กล้ามเนื้อเล็ก (กล้ามเนื้อมือ-นิ้วมือ )และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท( กล้ามเนื้อมือ-ประสาทตา )ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะดนตรี การเล่นเครื่องสัมผัส การเล่นออกกำลังกลางแจ้ง - อารมณ์-จิตใจ เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส ได้พัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและความเชื่อมั่นในตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น เล่น ฟังนิทาน ท่องคำคล้องจอง ร้องเพลงเป็นต้น - สังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวในชีวิตประจำวัน ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นอย่างอิสระ เล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่น แบ่งปันหรือให้ รู้จักรอคอย ใช้ภาษาบอกความต้องการ ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ - สติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในชีวิตประจำวันผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ และการเคลื่อนไหวได้พัฒนาการใช้ภาษาสื่อความหมายและความคิด รู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส จดจำชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว มีการฝึกการใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนังในการแยกแยะสิ่งที่รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับความเหมือน ความแตกต่างและมิติสัมพันธ์ จากการที่เด็กนักเรียน ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและผู้ปกครอง ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นพฤติกรรมของเด็กที่ได้แสดงความรู้สึกออกมาอย่างมีความสุข โดยมีการส่งยิ้ม หัวเราะอย่างสนุกสนาน รวมทั้งกลุ่มเพื่อนของเด็กนักเรียนและผู้ปกครองก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้พัฒนา ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา นักเรียนครู ผู้ปกครอง ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน และเกิดความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครองมีเพิ่มมากขึ้น
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2852 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2852