การป้องกันโรคมือเท้าปาก
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบ้านตาลเจ็ดยอด (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
ผู้จัดทำ นางพิมลพรรณ อินทรแหยม
ประเภทตัวชี้วัด : ด้านสุขอนามัยเด็กและสุขาภิบาลของสถานศึกษา
โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease : HFMD)สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง การติดต่อ การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน เชื้อจะผ่านเข้าสู่เยื่อบุคอหอย ลำไส้ และเข้าสู่กระแสเลือดในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 6- 8 สัปดาห์ เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า อาการของโรค หลังจากได้รับเชื้อ 3 - 6 วัน (ระยะฟักตัว)ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบ ๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ การป้องกัน โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เป็นประจำหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนการรับประทานอาหารหรือป้อนอาหารเด็ก รวมถึงการไม่คลุกคลีใกล้ชิด ใช้ภาชนะอาหาร หรือของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกับการรักษาความสะอาดทั่วๆไป การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัวให้ถูกสุขลักษณะ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2814 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2814