การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง "การแห่เทียนเข้าพรรษา"

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่กุ ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก (จังหวัดตาก)

ผู้จัดทำ นางสาวสุพรรณี จันทร์งาม

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้จากของจริงและลงมือปฏิบัติจริง จากสถานที่จริง ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนรู้จากในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เช่น แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ สถานที่สำคัญในชุมชน แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนี้เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งการจัดกิจกรรมให้กับเด็กในแต่วันจะมีการจัดทั้งหมด 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ , กิจกรรมเสริมประสบการณ์ , กิจกรรมสร้างสรรค์ , กิจกรรมเสรี , กิจกรรมกลางแจ้ง , กิจกรรมเกมการศึกษา การจัดกิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นการส่งเสริมเด็กให้ได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรมการแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะ และการสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายของขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็นเครื่องดนตรีประจำถิ่น ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติจริงในการร่วมกิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษาที่วัด เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมความดีงามให้กับเด็ก และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติในชีวิตของได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2786 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2786