หนูน้อยสร้างชีวิต สร้างพื้นที่สีเขียวใต้ร่มพระบารมี
สร้างโดย องค์การบริหารส่วนตำบลท้วงน้ำบาล (จังหวัดจันทบุรี)
ผู้จัดทำ นางเสาวนีย์ สุมสวัสดิ์
ประเภทตัวชี้วัด : ประสบการณ์ : จากเรื่องเล่า ใต้ร่มพระบารมี
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยและชาวต้าบลห้วงน้้า ขาว อ้าเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ ครั้งคราวได้เสด็จมา ณ ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน ต้าบลห้วงน้้าขาว จังหวัดตราด ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศ และอันดับที่ ๒๖ ของโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายบ้าเพ็ญพระราชกรณียกิจทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทรงให้ความส้าคัญในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ให้มีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ อันจะส่งผลในการเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้้า แหล่งอาหาร แหล่ง ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด รวมถึงเป็นแนวป้องกันภัยธรรมชาติอีกประการหนึ่ง ป่าชายเลนนับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีคุณค่ ามหาศาล เพราะนอกจากจะมี ประโยชน์ในด้านการรักษาสมดุลของธรรมชาติแล้ว ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อวงจรชีวิตของประชากรและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ชาวประมงส่วนใหญ่มีวิถี ชีวิตที่ผูกพันกับท้องทะเลและป่าชายเลน การด้ารงชีวิต การหารายได้ ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาอาศัยระบบนิเวศป่าชายเลนทั้งสิ้น อีกทั้งการท่องเที่ยวที่สามารถท้า รายได้ให้กับประเทศเป็นกอบเป็นก้า ก็เพราะมาจากความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลน จากประโยชน์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ป่าชายเลนนั้นมีคุณค่าอนันต์ แต่ในขณะที่เราขวนขวายเอาประโยชน์จากป่า ในอีกแง่มุมหนึ่งการอนุรักษ์และฟื้นฟู จึงสมควรท้าควบคู่กันไป ซึ่งองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ท่านทรงมีความห่วงใยอย่างมากในการปลูกจิตส้านึกของคนไทยเพื่อให้ตระหนักถึง ความส้าคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้าพเจ้าใน ฐานะของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จึงเล็งเห็นถึงความส้าคัญในการปลูกจิตส้านึกด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับเยาวชนตัวน้อย ๆ ที่ผู้ปกครองของเด็กส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพประมง ซึ่งต่อไปพวกเขาเหล่านี้คือเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศของเรา จึงจ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกจิตส้านึกรักษ์ธรรมชาติ ตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความใส่ใจต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นทั้งผู้ใช้ทรัพยากรและผู้ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีคุณภาพ จึงได้จัดท้าโครงการหนู น้อยสร้างชีวิต สร้างพื้นที่สีเขียวใต้ร่มพระบารมี ตามโครงการได้จัดกิจกรรมให้ เด็กปฐมวัย ได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้เชิงอนุรั กษ์ธรรมชาติ ภายในห้องเรียนและ นอกห้องเรียน โดยเลือกต้นโกงกางที่ปลูกภายในศูนย์ และรูปภาพเป็นแหล่งศึกษาข้อมูล ได้รับความอนุเคราะห์จากนายอ้าพร แพทย์ศาสตร์ นายกองค์การ บริหารส่วนต้ าบลห้วงน้้าขาว ในการบรรยายสรุปข้อมูลแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพันธุ์ไม้ต่างๆในป่าชายเลน สัตว์ทะเล สิ่งมีชีวิตต่างๆที่ อาศัยอยู่ในป่าชายเลน รวมถึงอาชีพที่คนในพื้นที่ใช้ในการด้ารงชีวิตโดยพึ่งพาอาศัยจากป่าชายเลน โดยมีค้าว่า ”หยุดจับร้อย คอยจับล้าน” นอกจากนี้ป่าชาย เลนบ้านเปร็ดใน ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่จัดนิเวศน์ศิลป์บนแผ่นดินซึ่งเป็นแห่งที่ ๙ ของนิทานแผ่นดินเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงของแผ่นดิน ณ หมู่ บ้านเปร็ดใน หมู่ที่ 2 ต้าบลห้วงน้้าขาว มีหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ,อพท ,อบต.ห้วงน้้าขาว ,โรงเรียนวัดห้วงน้้าขาว ,โรงเรียนบ้านเปร็ดใน,ผู้น้า ท้องถิ่น ,ผู้น้าท้องที่ ,ประชาชนในต้าบลห้วงน้้าขาวเข้าร่วม ซึ่งท้าให้ข้าพเจ้าและนักเรียนต่างได้รับความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี รวมถึงการให้แนวทางในการ อนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลนอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาทรัพยากรอันมีคุณค่านี้ไว้ให้แก่ลูกหลานสืบไป จากกิจกรรมดังกล่าว สร้างความสนใจและตอกย้้าถึง ความส้าคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ทั้งด้าน ร่างกาย ได้ขยับทุกส่วนในช่วงเดินดูต้นโกงกางภายในศูนย์ ด้านอารมณ์ – จิตใจ เด็กๆมีความสนุกสนาน สดชื่น เบิกบาน ยามได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่าง ใกล้ชิด ด้านสังคม การท้ากิจกรรมร่วมกัน ตลอดเวลาที่เด็กๆท้ากิจกรรมร่วมกัน เด็กๆมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากมาย รู้จักเรียนรู้ ที่จะปรับตัวให้สามารถเป็นส่วน หนึ่งของกลุ่มเพื่อนได้ หลายครั้งจะพบเห็นการชักชวนกันอย่างเป็นมิตรในการศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งเด็กๆท้าได้เป็นอย่างดี ส่วนใน ด้านของสติปัญญา เด็กๆ ได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างดีในการอธิบายประกอบการ ท้าให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการ ปลูกจิตส้านึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนของเราได้ เป็นอย่างดี
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2727 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2727